วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

กู่ฉินและผู้ไม่ใช่เจ้าของวัฒนธรรม



ดนตรีและศิลปะเป็นเรื่องที่ไร้พรมแดนอย่างชัดเจน
แต่หลายครั้งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเจ้าของวัฒนธรรมจะเล่นได้ถึงรสกว่า แน่นอนว่า ไม่ทั้งหมด
จากประสบการณ์การเล่นกู่ฉินมาหลายปี ฟังทั้งคนจีน ต่างชาติทางยุโรปหรือที่อื่นๆ (ไม่รวมลูกจีน) และคนไทยเล่นมาระยะหนึ่ง (หมายถึง นร ของผมเสียส่วนมาก) จนมาถึงตอนนี้ยังไม่เจอฝรั่งที่เล่นกู่ฉินที่จัดรูปประโยคได้เหมาะสม และงามในมาตราฐานของจีนเลย ทั้งๆที่เค้าทั้งหลายก็ศึกษามาไม่น้อยแล้ว แต่ในทางกลับกัน นักเรียนของผมที่เรียนกู่ฉินได้ไม่เท่าไร แต่กลับแบ่งวรรคเพลงได้ดีมาก ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้ารูปแบบการจัดเรียงไม่ดี มันก็จะทำให้เนื้อหาบิดเบี้ยว เช่น เราพูดว่า

"วันนี้ ท้องฟ้าสดใส"
กับ
"วัน นี้ท้อง ฟ้าสด  ใส" เป็นต้น

ตอนนี้เรากำลังพูดในมิติการเล่นอย่างไรให้ได้กลิ่นจีนนะครับ
ผมพบอีกอย่าง ภาษาไทยมีโครงสร้างพื้นฐานไกล้เคียงภาษาจีนโบราณมาก มีส่วนคล้ายทางด้านคำและการออกเสียง (แต่ตรงนี้ยังเป็นเพียงข้อสงสัยครับ ยังไม่มีเวลาศึกษาจริงจัง) นั่นมีผลต่อรูปแบบการนำเสนอของบทเพลงโดยตรง ถ้าเราสังเกตุดีๆจะพบว่า เพลงของชนชาติไหนจะเพราะที่สุดก็เมื่อใช้จังหวะและทำนองของชนชาตินั้น หลายครั้งเราได้ยินเพลงทียืมทำนองกันไปแปลเป็นภาษาของตน มันกลับฟังแปลกๆ (อาจต้องใช้ความเข้าใจเรื่องภาษาและวัฒนธรรมบ้างเล็กน้อย) และสิ่งที่ทำให้ผลแปลกใจไปกว่านั้นคือ นร ของผมแต่ละคนล้วนเล่นได้แต่เพลงฝึกหัดพื้นฐานทั้งนั้น แต่กลับแบ่งประโยคเพลงได้ค้ลายจีนมาก อีกทั้งลมหายใจก็ค่อนข้างไปได้ด้วยกัน หนึ่งอาจจะเป็นเรื่องเรารับสื่อจีนมาก แต่ นร ของผมก็หลายคนก็แทบไม่ฟังเพลงจีนด้วยซ้ำ แต่กลับเล่นออกมาได้ถึงรสพอสมควร ทำให้ผมรู้สึกว่าคนไทยค่อนข้างได้เปรียบในการเล่นฉินแบบดั้งเดิมมาก ทั้งเรื่องความเข้าใจ สำเนียง รูปแบบเพลง วรรคเพลง ลมหายใจ เอื้อนหรืออื่นๆ
ข้อสันนิษฐานของผมเป็นเพียงการสังเกตุแบบหยาบๆจากหลายๆองค์ประกอบ อาจคลาดเคลื่อนไปไม่น้อย ฉนั้นถือซะว่าเป็นการสรุปแบบง่ายๆเท่านั้นครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น