วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ความโหดของการขึ้นสายกู่ฉิน (ไหม)


วันก่อนหลายคนคนเห็นผมบ่นไปบ้างแล้ว เกี่ยวกับความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการขึ้นสายกกู่ฉิน วันนี้ผมจะขอนำเสนอรายละเอียดความโหด และปัจจัยนอกเหนือการควมคุมอื่นๆของการขึ้นสายกู่ฉินให้ทุกท่านได้รู้กัน
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสายไหมกันก่อน

สายไหมของกู่ฉิน เกิดจากตัวหนอนไหม กินใบหม่อนออกมาแล้วขับเส้นใยออกมา เหมือนกับไหมบ้านเรานั่นแหล่ะครับ แต่ของจีนจะพิเศษกว่าตรงนี้เค้าไม่ได้ให้ตัวไหมกินใบหม่อนทั่วไป จะมีหม่อนชนิดพิเศษ ที่ตัวไหมกินแล้วจะให้เส้นใยที่เหนียวทนทานมากครับ
เมื่อได้เส้นไหมบางๆแล้ว ก็นำมาฟั่น ขั้นตอนนี้ก็เหมือนกับการทำสายเครื่องดนตรีไทยครับ คือฟั่นเป็นเกลียว กี่มัดกี่มัด ก็ว่าไปตามขนาดของสาย สายกู่ฉินตั้งแต่สมัยโบราณมีสามรุ่นครับ แบบเล็ก กลางและแบบหนา แล้วแต่คนชอบ เส้นเล็กจะเหมาะกับสาวๆ เพราะเล่นสบายมือและเสียงเบาครับ ในทางกลับกันเส้นใหญ่จะเสียงดังและมีแรงด้านนิ้วค่อนข้างสูง แต่กระนั้นก็ตาม ไหมก็นุ่มกว่าสายโลหะที่เราใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวันนนี้อยู่ดีครับ
เมื่อฟั่นเสร็จแล้วก็ต้องนำไปต้มยาจีนสูตรลับเฉพาะอีกหลายชั่วโมงเพื่อให้เกลียวที่ฟั่นไว้ประสานกันอย่างเหนียวแน่น หลังจากนั้นรอให้แห้งสนิท เก็บรายละเอียดเล็กน้อยแล้วก็นำไปใช้ได้แล้วครับ
คุณสมบัติของไหมคืออะไร? เด่นๆคือคามยืดหยุ่นนั่นเองและมันจะตึงหย่อนไปตามสภาพอากาศได้ด้วย นี่จึงเป็นสาเหตุใหญ่ที่นักดนตรีเวทีไม่นิยมสายไหมครับ
มาเข้าสู่ขั้นตอนสายขึ้นสายกันดีกว่าก่อนอื่น ที่ต้นสาย เราต้องมัดเป็นปมสวยงาม ที่มีศัพท์เทคนิคเรียกว่า อิ้งโถว 蝇头 หรือแปลว่าหัวแมลงวัน

หัวแมลงวันเหล่านี้จะรั้งอยู่กับเกลียวด้ายอีกที ซึ่งเกลียวด้านจะทะลุลงไปถึงลูกบิดด้านล่าง ซึ่งทำหน้าที่ปรับละเอียด สายหย่อยไปก็บิดให้เกลียวด้านตึงขึ้น หย่อนไปก็หย่อนเกลียวลง ซึ่งเกลียวนี้ ไม่สามารถจะปรับได้เกินสองเสียง!นั่นหมายความว่าการขึ้นสายครั้งแรก เราต้องการความตึงให้ได้เกือบเทียบเท่าเสียงที่เราตการพอดี
เข้าสู่ความหลอนขั้นต่อไป

เมื่อหัวแมลงวันกับเกลียวด้านที่ยึดอยู่กับลูกบิด พูดจัดตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว เราต้องหาตัวช่วย ซึ่งอาจจะเป็นผ้าขนหนูเล็กๆ หรือว่าท่อนไม้เรียบๆก็ได้ นำปลายสาย มาพันรอบเข้ากับตัวช่วยนั้น ดึงให้แน่น แล้วนำสายพาดผ่านส่วนท้ายของตัวเครื่องดนตรี เมื่อได้ตำแหน่งสายที่ถูกต้องแล้ว ก็เริ่มออกแรงดึงด้วยมือ!เช่น ถ้าสายหนึ่ง ต้องเสียง C ต้องถึงให้ได้ C สูงต่ำกว่านิดหน่อยไม่เป็นไร ลูกบิดช่วยเราปรับละเอียดได้
เมื่อออกแรงดึงและดีดเชคได้เสียงที่ต้องการแล้ว ห้ามผ่อนแรงเด็ดขาด

เพราะเราต้องนำสายที่กำลังถูกดึงด้วยแรงยกดัมเบล มาผูกกับจุดรั้งสาย ที่เรียกว่า 雁足 หรือขาห่านป่า ในขณะที่กำลังรั้งและพันสายให้สุดปลายนั้น อย่าได้ผ่อนแรงเด็ดขาด ผ่อนเมื่อไร สายหย่อน ต้องเริ่มออกแรงดึงใหม่ ขากระสานั้นช่างมำกู่ฉินนิยมทำออกมาสองแบบ แบบกลมและเหลี่ยม แบบเหลี่ยมช่วยในการไม่ให้สายลื่น แต่มุมเหลี่ยนอาจทำลายสายได้ แบบกลมรักษาสายได้ดี แต่โคตรลื่น ไม่ชอบขึ้นสายให้กู่ฉินขากลมเลย เกลียดมาก
เมื่อเราพันสายจนเกลือบสุดปลายแล้วก็ให้นำปลายสาย ไปสอดไว้ใต้สายที่ดึงนั่นแหล่ะครับ ไม่ต้องผูกปมใดๆทั้งสิ้น  ไม่หลุดแน่นอน ไม่งั้นจะแก้ยาก
ทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยให้ครบ 7 สาย และตอนนี้จะพูดถึงความหลอนตัวแม่ในการเล่นกับสายไหม การขึ้นสายนั้น เราต้องเรียงไปจาก 1-7 โดนที่สาย1-4 จะอยู่ขาซ้ายและ5-7จะอยู่ขากวา นั่นหมายความว่าหางของสาย2 ก็จะทับสาย1 หางสาย3ก็จะทับสาย3 ไปเรื่อย ขาอีกข้างก็เช่นกัน และขณะที่หายสายที่ถูกดังด้วยแรงมหาสาร ไปทับสายที่พันไว้แล้ว โอกาศที่จะไปเกี่ยวหางสายแรก ทำให้สายแรกหย่อนมีสูงมาก ดังนั้นการตำแหน่งลงของสายที่จะพันเก็บ โดยให้สายก่อนหน้าเคลื่อนน้อยที่สุด จึงเป็นสิ่งที่ยากมาก ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ตัวเองล้วนๆ

แต่ระหว่างที่ขึ้นสายนั้น สิ่งที่ห้ามลืมคือ หัวแมลงวัน ควรจะอยู่บนหย่อง หรือเยวี่ยซาน ไม่ควรอยู่ข้างหลังหรือข้างหน้าจนเกินไป นอกจากเป็นเรื่องของความสวยงามแล้ว สายไหมที่ไปอยู่บนเยวี่ยซาน จะทำให้ส่งการสั่นจะเทือนไปถึงช่องเสียงภายในได้ดี ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ กึ่งกลางของเยวี่ยซาน (กลับไปดูภาพที่สอง สองสายบนคือตัวอย่างที่ดี) เพราะในบางเพลงเราอาจจะต้องหย่อนสายลง ถ้าหย่อนจนสายอยู่นอกเยวี่ยซาน เสียงจะอับ และบางเพลงเราตั้งตึงสายขึ้น เมื่อตึงมากไป มัวแมลงวันอาจตกและเกลียวอาจคืนตัวได้ด้วย
แล้วถ้าทุกอย่างทำไปได้ดี เยวี่ยซานอยู่ตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว มีอะไรอีก ทิ้งไว้คืนนึง สายจะกลับมาหย่อนอีกครั้ง หย่อนจนเกลียดด้ายไม่สามารถช่วยเหลือได้ ต้องขึ้นแบบนี้อีกสองครั้ง!อย่าลืมเรื่องปัจจัยหลายอย่างที่คุมได้ยากด้วย
การขึ้นสายไหมทั้งหมดที่ดีที่สุด ต้องขึ้นอย่างน้อยสามครั้ง เน้นว่า อย่างน้อยเพราะสายไหมใหม่ มักจะยืดตัวได้ระยะหนึ่ ทำให้สายหย่อนลงเยอะพอสมควร
ในกรณีมีบางสายที่ต้องถอดมาแก้เฉพาะกิจ เช่นสายที่หัวแมลงวันไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม หรือขาด แต่ถ้าสมมติว่า สาย2มีปัญหา อย่าลือว่ามันถูกหางสายของ3และ4 ทับไว้ ดังนั้น จะแก้สาย2 ต้องรื้อ3และ4ก่อน พอแก้2แล้วจึงตามเก็บขึ้น3และ4อีกครั้ง ซึ่งอย่าลืมเรื่องความเสี่ยงของการที่จะไปเกี่ยวหางสายก่อนหน้าอีก


จากประสบการณ์การขึ้นสายกู่ฉินมาหลายสิบตัว พบว่า เหนื่อยอ่ะ
ดังนั้นนักเรียนที่เล่นสายไหม ถ้าเป็นไปได้ ควรจะรู้วิธีการขึ้นสายด้วยตัวเองด้วย ในกรณีที่ นร ไม่สะดวกมาหาครูทันทีและครูไม่มีเวลาดูให้ เราจะได้ช่วยตัวเองได้ไม่ง้อใคร ที่เมืองจีนมีการคิดค่าขึ้นสายด้วยนะครับ ตอนนี้ นร ยังน้อยครูทำฟรี นร เยอะเมื่อไร หุหุหุ ละนะ
ปล. สำหรับ นร หญิงครูอาจช่วยเป็นกรณีพิเศษ ส่วน นร ที่ถึกขอให้ฝึกไว้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น