วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

กู่ฉินและความว่าง



ทำไมดนตรีกู่ฉินถึงมีช่องว่างแห่งความเงียบเยอะ

นั่นเพราะว่าดนตรีกู่ฉิน เป็นดนตรีที่ได้รับอืทธิพลจากทัศนคติแบบจีน ซึ่งเป็นแนวคิด "การนำเสนอและการซ่อนของนามและรูป" อาทิ ภาพวัดเก่าแก่ในหุบเขา ในภาพไม่เห็นวัด แต่เห็นหลวงพ่อท่านหนึ่งกำลังตักน้ำ หรือภาพดอกบัวในบึงน้ำใส น้ำก็จะถูกปล่อยให้โล่งเป็นพื้นที่สีขาวแทน เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วทัศนคตินี้เรายังเห็นได้ในบทสนทนาทั่วไป นั่นคือการอ้อมค้อม เช่น การปฎิเสธจากการเชิญชวนของเพื่อนไปงานวันเกิดของเพื่อนอีกคน จีนจะบอกว่าอยากไปมาก แต่น่าเสียดายที่ต้องช่วยงานที่บ้าน (แปลว่าไม่สะดวก หรืออาจจะไม่อยากไป) ในขณะเดียวกันฝรั่งอาจบอกว่า ชั้นไม่ถูกกับเจ้าของวันเกิด

นอกจากช่องว่างของตัวโน้ตแล้ว ในส่วนของเนื้อหาที่ดนตรีกู่ฉินนำเสนอนั้น ส่วนใหญ่จะไม่เป็นไปตามสิ่งที่ชื่อเพลงหรือท่วงทำนองแสดงออกมา (อ้อทค้อม) แต่จะสื่อถึงอีกอย่างหนึ่งซึ่งถูก"ซ่อน"เอาไว้ เช่น เพลงห่านผ่าร่อนพื้นทราย ห่านป่าไม่ใช่ห่านป่า พื้นทรายไม่ใช่พื้นทราย แต่ยืมการหนีลงใต้ของห่านป่าโยงเข้ากับอุดมการณ์อันยาวไกลของปราชญ์ พื้นทราย สื่อถึงความสงบ ความเงียบ ห่านป่าร่อนพื้นทรายจึงหมายถึง ปราชญ์เหนื่อยจากการทำตามอุดมการณ์ ขอนั่งพักซักครู่ แต่ก็ยังอยู่ในภาวะจิตใจที่สงบนั้นเองด้วยการพยายามซ่อนส่วนที่ "ไม่จำเป็นต้องนำเสนอตรงๆ" ทำให้ดนตรีกู่ฉินเป็นดนตรีที่มีช่องว่างเยอะมาก และนำพาความสงบในจิตใจมาให้แก่ผู้เล่นและผู้ฟังนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น