วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555


ละครฟอร์มยักษ์ สามก๊ก รุ่นเก่า ที่ได้สร้างตำนานให้กับวงการภาพยตร์ไว้อย่างยิ่งใหญ่ จะมีตัวละครเด่นๆที่บรรเลงกู่ฉินได้อย่างลึกซึ้ง ได้แก่ ขงเบ้ง และจิวยี่ ทำไมในนิยายต้องให้สองคนนี้เล่นกู่ฉิน ทั้งๆในจดหมายเหตุสามก๊กหรือตำราซานกว๋อจื้อ(三国志)กลับไม่มีบันทึกไว้ นั่นเพราะว่ากู่ฉินเป็นพร็อปสำคัญ ที่เป็นเครื่องมือแสดงว่าคนนั้นคือคนที่ฉลาดกว่าคนอื่นๆ และการที่สองคนนี้เล่นได้ทั้งคู่ด้วย ก็เป็นการแสดงออกว่ามีสติปัญญาที่สูสีกันมากๆนั่นเอง (การฟังความคิดของขงเบ้งออก ผ่านเสียงกู่ฉินในกลเมืองว่างของสุมาอี้ก็เช่นเดียวกัน) 


แนวคิดนี้เริ่มก่อตัวราวๆสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ ซึ่งปัญญาชนเริ่มเข้ามาวุ่นวายกับศิลปะ อาทิ ภาพวาด การเขียนอักษร เป็นต้น ทำให้เกิดเงื่อนไขว่า การจะเรียนสิ่งเหล่านี้ได้ ก็ต่อเมื่อได้รับการศึกษาชั้นสูงเสียก่อน (เรียนหนังสือมากก็ฉลาดมาก) ซึ่งกู่ฉินเป็นตัวสะท้อนจุดนี้โดยตรง แน่นอนว่าสมัยก่อนคนได้เรียนหนังสือมีไม่เยอะ เลยดูเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก แต่ทุกวันนี้ทุกคนได้รับการศึกษาเท่าเทียมกัน คนจีนก็ไม่ได้วันๆเอาแต่ท่องตำราสอบจองหงวนแล้ว เพราะทุกคนก็ต้องเรียนศาสตร์สากลต่างๆเพื่อก้าวไปพร้อมๆกับโลกสมัยใหม่ ทำให้จากกู่ฉินเลือกคนในสมัยก่อน กลายเป็นคนเลือกกู่ฉินไปเสียแล้ว ฉนั้นตามหลักเหตุผลแล้วมันจึงควรจะเป็นดนตรีของใครก็ได้ที่รักและสนใจด้านนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นปราชญ์หรือปัญญาชนเสมอไป แต่โดยลึกๆแล้วชาวจีนหรือคนทั่วไปที่เน้นไปด้านจีนศึกษา) ยังคงรู้สึกว่ากู่ฉินเป็นดนตรีชั้นสูงอยู่ดี ดังนั้นคนที่เล่นกู่ฉินในวันนี้ ก็ยังจะถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ล้ำลึกอยู่ แทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อหลายร้อยปีก่อนเลย

ปล ภาพจิวยี่วางกู่ฉินกลับหัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น