วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

ความงมงายในการศึกษากู่ฉิน



หลายคนคงเคยได้ยินมาบ่อยๆว่า การจะเข้าใจกู่ฉินนั้น ต้องศึกษาปรัชญาจีนโบราณ รู้ภาษาจีนโบราณลึกๆ กวีราชวงศ์ถัง หรืออะไรเยอะแยะตาแปะแตก
รู้หรือไม่ว่าหลายปีก่อน ผมเองก็เคยได้รับการะกดจิตแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้รู้สึกว่าคนไทยแบบผมจะไปเข้าใจอะไรพวกนั้นได้หมด จนทำให้เกิดภาวะกลัวกู่ฉินและเลิกเล่นไปเป็นปีเลย! นักเรียนของผมหลายคน (ทั้งคนไทยและคนจีน) ที่ได้รับรู้เงื่อนไขเหล่านี้ บอกเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า
"รู้สึกว่าพวกที่ต้องเรียนมาเข้าใจกู่ฉิน เป็นอะไรที่ไกลตัวมาก ยิ่งฟังยิ่งรู้สึกกลัว" นี้คือแนวคิดของระบบการศึกษาจีนโบราณ อัดเข้าไป ใช้ไม่ใช้ไม่เป็นไร กลัวว่าถึงเวลาใช้ไม่ทัน แต่จุดจุดนี้กลับเป็นการเน้นย้ำว่า เจ้าเงื่อนไขยอดฮิตที่ทำให้กู่ฉินแลไฮโซโก้หรูนี่แหล่ะ ที่ทำให้คนจีนเองก็ไม่อยากเล่นกู่ฉินเสียเท่าไรผมพบว่า กู่ฉินมีเพลงที่มีเนื้อหาหลากหลาย และแต่ละคนก็ชอบเพลงไม่เหมือนกัน บางคนชอบรักหวานๆ บางคนชอบการเมืองเครียดๆ บางคนชอบธรรมชาติ หรืออื่นๆ แต่การที่เรารู้แล้วว่าเราชอบอะไร เราก็ควรมุ่งไปหาสิ่งที่จะอำนวยต่อสิ่งนั้น ไม่ใช่เรียนมันทุกอย่างในโลกจีนศึกษา เพื่อมาเล่นเพลงดอกเหมยเพลงเดียว ส่วนตัวผมค่อนข้างสนับสนุนให้กู่ฉินเป็นสารบัญ ที่นำเราไปสู่วัฒนธรรมจีนแขนงอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้อง มากกว่าจะเสียเวลาทำให้ตัวเองเป็นสารานุกรมเคลื่อนที่ ซึ่งโอกาศใช้งานเมื่อไรก็ไม่รู้ขาดตรงไหน เติมตรงนั้น ชอบตรงไหน ศึกษาให้ลึกในเรื่องนั้น
รู้ตัวอีกที เราอาจจะเป็นพวกรู้เยอะรู้รอบ แต่ไม่ชำนาญเลยซักเรื่อง มันช่างน่าเศร้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น