วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาษาจีนและกู่ฉิน




ตอบ ถ้าจะเรียนแค่เล่นเป็น แทบไม่จำเป็นเลย จริงๆแค่ซ้อมบ่อยๆก็เก่งได้แล้ว บางคนบอกว่าแบบนี้ก็เข้าใจไม่ลึกซึ้งสิ ความลึกซึ้งผมมองว่าอยู่ที่คน ตอนนี้หนังสือปรัชญาจีนหรือปรัชญาตะวันตกถูกแปลเป็นเป็นภาษาไทยมากมาย เราหาอ่านได้สบายมาก คำว่าลึกซึ้งนั้นหมายถึงความเข้าใจโลก ซึ่งไม่ใช่ว่าต้องรู้จากจีนเท่านั้น คนเราเรียนรู้โลกไม่เหมือนกัน จุดสูงสุดของคนนี้ อาจจะต่ำกว่าของอี
กคน แต่เมื่อเป็นจุดสูงสุดเหมือนกัน ฉนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะเอาไปเปรียบเทียบว่าคนนี้ลึกซึ้งคนนี้ไม่ลึกซึ้ง เพราะมันคือจุดเดียวกันแต่ต่างภาวะ สำหรับบางคนที่หลงไหลวัฒนธรรมจีนอยู่แล้วอยากหาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมบ้างพอเป็นกระสัย ภาษาจีนก็เป็นตัวช่วยที่ดีครับแต่สำหรับบางคนถ้าต้องการเรียนรู้วิชากู่ฉินศึกษา(琴学)สิ่งที่จำเป็นต้องมีดังนี้ ภาษาจีนระดับสูง ภาษาจีนโบราณ ศัพท์เฉพาะทางดนตรีสมัยใหม่และโบราณ ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการทางดนตรี (ไม่เพียงแต่จีน ต้องศึกษาทั้งโลก เพราะทุกๆยุคจีนรับดนตรีนอกมาตลอด) ทฤษฎีดนตรีจีนโบราณและสากลปัจจุบัน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ที่พูดมาดังกล่าวนั้นเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาที่ขาดไม่ได้ แต่ทิศทางการวิจัยก็มีได้หลากหลาย เช่น พัฒนาการของเทคนิค อิทธิดนตรีทางดนตรีตะวันตกต่อกู่ฉิน รูปแบบเพลงและค่านิยมในสังคม เป็นต้น
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละคนมากกว่า บางคนเล่นเก่งมากแต่ทฤษฎีไม่แม่น แต่บางคนทฤษฎีเป๊ะมากแต่เล่นงั้น ในมุมมองของผมกู่ฉินคือดนตรี การปฏิบัติมากก่อน แล้วค่อยๆศึกษาอย่างอื่นตาม เพราะโดยธรรมชาติและทฤติฎีมาทีหลัง ทฤษฎีที่ปราศจาคการปฏิบัติจะเป็นแค่การคาดเดาจากตัวอักษรเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น