วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

สีต่างๆบนตัวกู่ฉิน



เรารู้กันแล้วว่า ชั้นนอกสุดของกู่ฉินที่เราเห็นนั้น ไม่ใช่ไม้ แต่ชั้นที่เคลือบด้วยรัก (ที่บ้านเราใช้ลงรักปิดทอง) ผสมเขากวางบดอย่างหนา เจ้ารักตัวนี้ถูกกรีดออกมาจากต้นรักที่ให้ยาง คนละอย่างกับดอกรักที่เอามาร้อยมาลัย
รักจีน เมื่อถูกกรีดออกมาใหม่ๆจากต้นจะมีเนื้อสีขาวข้น พอเก็บทิ้งไว้ในภาชนะไปซักพัก ผิวหน้าจะกลายเป็นสีน้ำตาลและเข้มขึ้ยเรื่อยๆเมื่อเริ่มแห้ง แต่เมื่อลอกผิวชั้นนั้นออกจะเห็นยางรักสีขาวเหมือนเดิม แต่อาจจะออกครีมๆบ้างเมื่อเก็บไว้นาน และเมื่อถูกนำมาใช้ทำผลงาน พอมันแห้งแล้วมันก็จะกลายเป็นสีดำสนิท
ดังนั้นชั้นเคลือบกู่ฉินที่ทำเสร็จใหม่ๆ จริงๆแล้วมีเพียงสีเดียว นั่นคือสีดำสนิทครับ แต่จากภาพเราจะเห็นมีแดงแซมๆด้วย นั่นเพราะว่ากู่ฉินเมื่ออายุเกินหนึ่งร้อยปี รักจะแห้งจนแตกลายงา ซึ่งหลายครั้งเป็นอุปสรรค์ต่อการบรรเลง ดังนั้นช่างจึงใช้รักผสมกับผงหินชาดที่มีสีแดงลงไป เพื่อเพิ่มความแกร่งให้กับงานอุดเหล่านั้น (สีอื่นก็ได้ แต่ไม่นิยม) หลังจาดอุดตามรอยแตกต่างๆแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนกับขัดผิวหน้าให้เรียบอีกครั้ง ดังนั้นจึงเกิดลายสลับสีตามจุดต่างๆบนตัวกู่ฉินนั่นเอง นั่นแปลว่าลายพวกนั้นช่างไมได้จงใจทำมันมาตั้งแต่แรกครับ และนอกจากนี้ลายเหล่านั้นยังเป็นไดอารี่การซ่อมแซมกู่ฉินอีกด้วย เจ้าของบางคนก็สลักเรื่องราวไว้ใต้ท้องก็มี ซึ่งผงหินต่างๆจะไม่นิยมนำมาเคลือบตั้งแต่แรกครับ เพราะมันจะทำให้ชั้นเคลือยมีความหนาแน่นเกินไป ทำให้เสียงอับ ฉนั้นกู่ฉินทำใหม่ที่ดีควรเป็นสีดำสนิททั้งตัวแล้วกู่ฉินทำใหม่ที่เราเห็นทั่วๆไป ที่มีสีสันและลวดลายที่หลากหลาย หมายความว่าอย่างไร
เค้าผสมสีเคมีเลียนแบบของเก่าครับ จบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น