วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

กู่ฉินและเด็ก




หลังยุคปฏิวัติวัฒนธรรม จีนใหม่ได้นำความเจริญเข้ามาสู่ประเทศ
ทำให้จีนวันนี้มีความพร้อมในด้านสาธารณูปโภคในทุกๆด้าน
แต่เร็วๆนี้จีนได้ตระหนักถึงปัญญาทางด้านวัฒนธรรมที่เสื่อมลง
จนเกิดกระแสวัฒนธรรมจีนฟีเวอร์ขึ้นมาอย่างรุนแรง
ศาสตร์หลายๆศาสตร์ได้รับการประชาสัมพันธ์อย่างจริงจัง
ทำให้ศาสตร์ที่เกือบสาบสูญกลับมามีชีวิตและเป็นที่นิยมอีกครั้งกู่ฉินก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นเดียวกัน
ปี2002กู่ฉินได้เป็นหนึ่งในมรกดโลกที่รับรองโดยUNESCO
หลายคนหันมาสนใจกู่ฉินที่ไกล้ตายมากอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ และเร็วๆนี้ก็เกิดกระแสการให้เด็กน้อยเรียนกู่ฉิน
ผู้ปกครองหลายคนหวังว่าจะให้ลูกของตนมีความสามารถพิเศษ โดยอาศัยการบ่มเพาะตั้งแต่เด็กๆ เช่นเดียวกับไวโอลิน เปียโนหรือเครื่องสากลต่างๆในภาวะที่การแข่งขันสูงสุดขีด อย่างน้อยที่สุดลูกของตนก็ออกตัวเร็วกว่าคนอื่น ทำให้เกิดคอร์สกู่ฉินสำหรับเด็ก ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดได้อย่างน่าตกใจ
แล้วมันดีมั้ย?
ด้วยตัวกู่ฉินเองแล้ว เป็นดนตรีที่ไม่เหมาะสำหรับเด็กเอาเสียเลย เพราะว่าเนื้อหาของเพลงนั้นส่วนมากเป็นเรื่องของผู้ใหญ่คิดมากทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การศึก การเมือง การล้างแค้น อกหัก ความรัก ความรันทด ความอึดอัดหรือแม้ประทั่งปรัชญาก็ตาม ดังนั้นการให้เด็กน้อยสัมผัสกับสิ่งเหล่าในเร็วเกินควร อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็ก
ศ. หลี่โหย่วเหริน ครูกู่ฉินประจำวิทยาลัยดนตรีเซี่ยงไฮ๊กล่าวไว้ว่า "เด็กควรจะวิ่งเล่นไปมาสดใส ไม่ควรเอาปฏิกูลไปทำให้จิตใจเด็กสกปรก" ในสมัยราชวงศ์หมิงมีตำราหนึ่ง กล่าวว่า "ไม่มีหนวด ไม่ให้เรียนฉิน"
เราจะเห็นได้ว่าตั้งแต่โบราณ นักกู่ฉินก็ตระหนักถึงปัญหานี้มานานมากแล้ว ดังนั้นการที่พ่อแม่จะให้ลูกของตนเรียนดนตรีเพื่อบ่มเพาะความสามารถพิเศษให้ลูกน้อยนั้น อาจจะลองหาอย่างอื่นให้เรียนไปก่อน
บางคนถามว่าเรียนเป็นเพลงๆไปไม่คิดมากได้มั้ย
ได้ แต่เชื่อว่าเด็กส่วนมากคงไม่สนุกด้วย (ยกเว้นเด็กมีความสนใจด้วยตนเอง) แต่ด้วยกายภาพของเด็ก ก็ไม่พร้อมจะเล่นกู่ฉินแล้ว
แล้วอายุเท่าไรที่น่าจะเรียนก่ฉินได้?
ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านบอกว่า 14-15 กำลังดีเพื่อสุขภาพจิตและพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยในระยะยาว ผู้ปกครองก็อาจจะต้องลองคิดให้หนักอีกหน่อย ว่าคุ้มมั้ยกับการที่จะให้ลูกน้อย ต้องสัมผัสความวุ่นวายของโลกวัยอันควร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น