วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

กู่ฉิน และ กู่เจิง


เรียบเรียงโดย ชัชชล ไทยเขียว

1. ชื่อเรียก
กู่ฉิน ภาษาจีนเขียนว่า 琴
กู่เจิง ภาษาจีนเขียนว่า 筝
ในสมัยโบราณจีนนิยมใช้คำโดด ต่อมาเนื่องจากวิวัฒนาการของมนุษย์ ทำให้มีสิ่งของมากกว่าคำ ทำให้เกิดการใช้คำคู่ ที่เกิดจากการผสมของคำโดดขึ้นมา ทำให้มีการเติมคำว่า “古 กู่” ที่แปลว่าเก่าแก่โบราณเข้าไป จนเป็นกู่ฉินและกู่เจิงที่เราคุ้นหูกันทุกวันนี้ (อ่านเพิ่มเติมเรื่องชื่อของกู่เจิงที่นี่ http://guqinth.wordpress.com/2012/09/05/ทำไม-กู่เจิง-ชื่อกู่เจิง/ )

2. ขนาด
กู่ฉินมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก มีความยาวประมาณ 120 ซม.
กู่เจิงมีขนาดใหญ่ เทอะทะ มีความยาวประมาณ 160 ซม.

3.จำนวนสาย
เดิมทีกู่ฉินมี5สาย มีการขุดค้นพบวัตถุโบราณ เป็นฉินที่มีสายแตกต่างกันอีกจำนวนไม่น้อย ทุกวันนี้เรานิยมใช้กันแบบ7สาย ไม่มีหย่องและเฟรท ทำให้กู่ฉินเพียงหนึ่งสาย สามารถบรรเลงเสียงออกมาได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นแบบที่เป็นมาตราฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอีกเลย
ส่วนกู่เจิงนั้นเดิมมี5สายเช่นกัน แต่มีหย่อง กล่าวได้ว่า โครงสร้างของกู่เจิงนั้น ได้อาศัยโครงสร้างเดิมของกู่ฉินแล้วทำการปรับแต่งนั่นเอง ต่อมาได้เพ่ิมเป็น12สายในสมัยราชวงศ์สุย และ13สายในสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งได้แผยแพร่ไปยังญี่ปุ่น จนกลายเป็นโคโตะในทุกวันนี้ (โคโตะยังคงใช้สัญลักษณ์โน้ตของจีนสมัยถังอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่จีนกลับเปลี่ยนไปใช้โน้ตตัวเลขอาราบิคเสียแล้ว) ปัจจุบันกู่เจิงมาตราฐาน มี21สาย และเนื่องจากกู่เจิงมีหย่อง ทำให้หนึ่งสาย บรรเลงได้ไม่เกิน3ครึ่งเสียงเท่านั้น

4.เสียง
กู่ฉินมีเสียงที่เรียบง่ายและแผ่วเบามาก ต้องการสภาพแวดล้อมที่สงบจริงๆ ถึงจะได้ยิน
แต่กู่เจิงมีเสียงที่ดังกังวาน สดใส สนุกสนานและฟังดูหรูหรากว่า

5.ประวัติศาสตร์
กู่ฉินมีอายุประมาณ 4,000 ปี
เพลงส่วนมากเป็นเพลงโบราณแท้ๆ มีโน้ตที่หลงเหลือมาทุกวันนี้ประมาณ 3,000 กว่าฉบับ แต่กู่เจิงมีเพลงโบราณแท้ๆน้อยมาก เนื่องด้วยตัวเครื่องที่ได้รับการปรับจำนวนสายตลอดเวลา ทำให้มีการเพิ่มเทคนิคแต่งเติมอะไรใหม่เข้าไปอยู่เรื่อยๆ ส่วนเพลงกู่เจิงโบราณนั้น ส่วนมากก็ดัดแปลงมาจากกู่ฉินทั้งสิ้น นอกนั้นเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่เป็นจำนวนมาก อีกสาเหตุก็คือเอกสารของกู่ฉินนั้น มีจำนวนมากมายมหาสาร ไม่ว่าจะเป็นโน้ตเพลงก็ดี หรือทฤษฎีกู่ฉินก็ดี แต่กู่เจิงนั้นเท่าที่ผมเห็นมา มีเพียงฉบับเดียวเท่านั้น (ปัจจุบันนี้วงการกู่เจิง ศึกษากู่เจิงสมัยถังด้วยโคโตะ เพราะทุกวันนี้ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า กู่เจิงจริงๆสมัยนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งผมก็กำลังค้นคว้าอยู่ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมจะเอามาแชร์กันครับ) ซึ่งก็เป็นโน้ตเพลงสมัยถัง กู่ฉินมีวัตถุโบราณที่ตกทอดลงมาหลายร้อยตัว และยังสามารถบรรเลงได้ ตัวที่เก่าแก่ที่สุดอายุไม่ตำว่า 1,200 ปี ส่วนกู่เจิงนั้นมีตกทอดมาไมกี่ตัว ซึ่งทั้งหมดนั้นก็ได้เสียหายจนไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้แล้ว


6.ความยากง่ายในการเรียน
ท่าพื้นฐานจองกู่ฉินและกู่เจิงไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก แต่เมื่อไปถึงระดับกลาง กู่เจิงจะให้ความสำคัญกับความเร็วและแรงเป็นหลัก แต่สำหรับกู่ฉินกลับเน้นในเรื่องความช้า ความเบาสบายมากกว่า โดยรวมแล้วกู่เจิงและกู่ฉินมีความยากต่างกันไม่มาก ทุกวันนี้มีคอสกู่ฉินและกู่เจิงมากมายในจีน เรียน10ปีจบหลักสูตร ได้ใบประกาศสวยหรู แต่ถ้าหากกล่าวถึงภาวะความเข้าใจบทเพลงนั้น กู่ฉินต้องเรียนไปจนตาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น