วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

จะง้อเสียงบนสายไปทำไม



เถาหยวนหมิง (ราชวงศ์จิ้น)
เป็นนักกู่ฉินเข้าใจธรรมชาติของฉินที่สุดท่านหนึ่ง
ประโยคเด็ดของท่านคือ
但识琴中趣,何劳弦上声
ถ้าเข้าใจวิถีธรรมบนฉินแล้ว
ไฉนจะต้องง้อเสียงบนสาย

อ. หลายท่านเห็นว่าแนวคิดนี้ไกล้เคียงกับของเต๋า คือ 大音希声
หมายถึง ดนตรีที่ยิ่งใหญ่ไพเราะที่สุด คือดนตรีที่ไร้เสียง
คล้ายกับว่า ดนตรีที่ดีที่สุด สุดท้ายก็อยู่ในมโนคติ เล่นยังไงก็เล่นไม่ได้นั่นเอง
ส่วนตัวผมเองมองอีกมิติ
เราจะได้ยินบ่อยว่า "กู่ฉิน เป็นเครื่องดนตรีที่ปัญญาชนใช้บ่มเพาะจิตใจให้สูงขึ้น"
จากบทกลอนข้างบนที่กล่าวว่า
"จะง้อเสียงบนสายไปทำไม"
น่าจะเป็นการเสียดสีค่านิยมดังกล่าว ที่ชนชั้นปกครองสมัยโบราณ พยายามยกกู่ฉินให้หนีจากชาวบ้านทั่วไป จนต่อมากลายเป็นค่านิยมกระแสหลักแบบเพ้อฝัน (จนขนาดที่ว่าบ้านไหนมีกู่ฉินแขวนอยู่จะไฮโซทันที) เถายวนหมิงจึงเตือนสติลูกหลานที่เล่นกู่ฉินในยุคต่อไปว่า "ถ้าในใจมีธรรมะแล้ว กู่ฉินก็ไม่จำเป็นหรอก ในอีกมุมนึงคือ ถ้าจะเล่นก็เล่น อย่าเอาธรรมะมาเป็นข้ออ้าง ดนตรีก็คือดนตรี" (แอบเสียดสีผู้ที่เล่นกู่ฉินเอาเท่ด้วย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น