วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

รักแท้แลรักเทียม แบบไหนเคลือบกู่ฉินดีที่สุด


จากบทความเก่าๆที่ผมเคยเขียนไปถึงวัสดุที่ใช้เคลือบตัวกู่ฉิน (หวังว่าคงจะไม่มีใครคิดว่าชั้นนอกสุดนั้นเป็นไม้แล้วนะครับ) ถ้ายังพอจำกันได้ ผมเคยบอกว่าวัสดุที่ใช้เคลือบกู่ฉินมี  2 แบบ แบบแรกคือรักแท้ อีกแบบคือรักเทียม
เชื่อว่าหลายคนคงมีข้อข้องใจว่า แบบไหนกันแน่ที่ดีกว่ากัน วันนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังว่า ข้อดีและข้อด้อยของทั้งสองวัสดุ มีอะไรกันบ้าง
จากกู่ฉินที่เป็นวัตถุโบราณที่ตกทอดมาถึงทุกวันนี้ เช่นกู่ฉิน ชื่อจิ่วเซียวหวนเพ่ยอายุ 1200 ปี ก็เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่ารักแท้ สามารถรักษาไม้ให้คงสภาพได้นานนับพันปี  ถึงแม้ว่าจะมีการซ่อมแซมอยู่เกือบทุกราชวงศ์ก็ตาม
 จิ่วเซียวหวนเพ่ย อายุ 1200 ปี
ลูกศิษย์ของผมท่านหนึ่งเคยตั้งข้อสงสัยว่า "เอ้า ก็รักเทียมยังไม่ผ่านกาลเวลาถึงร้อยปีเลย จะรู้ยังไงว่าไม่ทน" ที่จริงไม่ต้องรอถึงร้อยปีครับ สิบปีก็แย่แล้ว ผมมีคนรู้จักซื้อกู่ฉินรักเทียมมา ข่าวล่าสุดคือร้าวแล้วครับ (ยังมีอีกหลายๆตัว) และไม่ใช่รอยร้าวแบบลายงา ที่เป็นเครื่องแสดงอายุของกู่ฉินด้วย แตกปริแบบน่าตกใจเลยทีเดียวครับ
"รักแท้ซ่อมได้ รักเทียมก็ซ่อมบ้างสิ?"
รักเทียม ถ้าสึกหรือบิ่นเป็นพื้นที่เล็กๆ ไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้าแตกเป็นเส้นยาวหรือแตกเป็นแผ่นเมื่อไร เตรียมซื้อตัวใหม่ได้เลยครับ! ทำไมถึงซ่อมไม่ได้ เนื่องจากอาการชั้นเคลือบแตกร้าวหรือเผยอขึ้นมา ขั้นแรกต้องใช้กระดาษทรายไฟฟ้าเก็บตรงที่มีปัญหาให้เรียบ ปัญหาคือเมื่อมันเจอการเสียสีหนักๆเข้า ติดไฟเลยครับ อย่าลืมว่าสีเคมีจำพวกนี้มีส่วนผสมของสารไวไฟอยู่ด้วย ไม่เชื่อดม ถ้าโดนขัดแล้วไม้ไม่ไหม้ ก็เข้าสู้ขั้นตอนเอารักเทียมโปะไปตรงที่มีปัญหาซะ แต่เดี๋ยวก่อน เนื่องจากมันไม่ใช่วัสดุธรรมชาติ มันจึงเกาะตัวกันไม่ดี และมีโอกาศร่อนอีกครั้งได้อย่างง่ายดาย
ย้อนกลับไปในเรื่องอายุการรักษาเนื้อวัสดุภายใน หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมรักเทียมจึงอายุสั้นปานนั้น หากอธิบายตามหลักจีนโบราณแล้ว คนจีนเรียกวัสดุธรรชาติทุกชนิดว่า "มีชีวิต" ยกตัวอย่างง่ายๆ เหมือนการใส่เสื้อผ้าฝ้ายและใยสังเคราะห์นั่นเอง
อีกตัวอย่างที่เห็นกันชัดๆเลยนั่นคือ การเข้าม้วนภาพพู่กันจีน หรือศัพท์เทคนิคเรียกว่า "จวงเปี่ยว" (装裱)

 พู่กันจีนฝีมือ อ. หลิวฉุนหยาง เพื่อนสนิทของกระผม
ฝีมือการเข้าม้วน โดษ อ. เผิง ศิษย์เอกของปรมาจารย์ระดับประเทศ 
ผู้ดูแลรักษาและซ่อมภาพในวังต้องห้าม ก็เพื่อนสนิมกระผมอีกเช่นกัน


อ. หลิวกล่าวกับผมว่า เดี๋ยวนี้มีการจวงเปี่ยนที่ไวทันใจแล้ว นั่นคือจวงเปี่ยวด้วยเครื่องและกาวเคมี ซึ่งยืนรอรับตรงนั้นได้เลย แต่ของโบราณต้องใช้เวลานานนับสองเดือน ซึ่งต้องค่อยๆกรีดด้วยมืออย่างปราณีต และกาวที่เค้าใช้ ก็คือแป้งเปียกที่สมัยก่อนบ้านเราใช้ติดห่อกล้วยแขกนั่นแหล่ะครับ ความคงทนหล่ะ จวงเปี่ยวเคมี อ. หลิวบอกว่าไม่เคยเจอชิ้นงานที่อยู่ได้เกินสิบปีเช่นกัน อีกทั้งเมื่อม้วนเสีย ภาพก็ถูกทำลายไปพร้อมๆกัน เพราะกาวเคมีได้ทำลายภาพไปตั้งแต่ครั้งแรกแล้ว แต่ถ้าจวงเปี่ยวด้วยแป้งเปียกแล้ว ในสภาพการรักษาที่ดี สามารถอยู่ได้เป็นพันปี  ถ้าม้วนเสียหาย ช่างสามารถแกะภาพออกมาเข้าม้วนใหม่ โดยที่ชิ้นงานยังสมบูรณ์อยู่ ภาพพู่กันข้างต้น อ.หลิวได้ขยำให้ผมเห็นต่อหน้า สองเดือนต่อมา อ. เผิงเข้าม้วนให้ เรียบเหมือนไม่เคยถูกปู้ยี่ปู้ยำมาก่อน อ. เผิงยืนยันกับผมอย่างถ่อมตัว "ภาพม้วนนี้ อยู่ได้ไม่ต่ำกว่าสามร้อยปี" (ที่จริงในใจชีคงคิดไปถึงห้าร้อยแล้ว)
กลับมาที่คำว่า "มีชีวิต" ตามหลักของจีน หมายถึง ธาตุของวัตถุนั้นๆ ยังคงสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนไปตามแวดล้อมได้อย่างสมดุล พูดกันง่ายๆคือ แป้งเปียกและรักแท้ สามารถหายใจได้นั่นเอง ซึ่งตรงกับการผลิกผันได้อย่างไม่สิ้นสุด ตามแนวคิดแบบเต๋านั่นเอง
จงเปี่ยวเคมีกับรักเทียม แห้งง่ายมาก และก็พังง่าย ทำไมนะ? กฎของธรรมชาติ ถั่วงอกโตเร็วฉันใด ก็ตายเร็วฉันนั้นครับ
และเรื่องสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงนั่นก็คือ คุณภาพเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของดนตรี ถ้าเปรียบเทียบภายใต้ปัจจัยเดียวกันนั้น  คุณภาพเสียงสามาถเทียบรุ่นกันได้เลยครับ กู่ฉินของ อ.หวังเผิงที่ผมใช้เป็นรุ่นรักเทียม คุณภาพเสียงดีมาก (รักแท้ของแกราคาหลักล้าน) กู่ฉินรักแท้ในตลาดทุกวันนี้ถือเป็นของหายากชิ้นหนึ่งเลยครับ ราคาจึงสูงพอสมควร จนทุกวันนี้มีคำว่า "กู่ฉินดีๆซักตัวหาไม่ยาก แต่ที่ตลาดกู่ฉินขาดคือ ของแท้ "
ทั้งสองแบบต่างมีข่อดีข้อด้วยในตัวมันเองค่อนข้างชัดเจน แต่สุดท้ายการตัดสินใจก็เป็นเรื่องของแต่ละคนละครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น