วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

โน้ตกู่ฉิน และพื้นที่การบันทึก



สัญลักษณ์ที่ใช้ในการกำกับการบรรเลง หรือโน้ตกู่ฉิน มีจำนวนมากกว่าร้อยตัว (เคยนับเล่นๆได้สามร้อยกว่า) ซึ่งทั้งหมดนั้นก็พัฒนามาจากเทคนิคพื้นฐานสิบกว่าอย่างของมือซ้ายและมือขวา
พอนำไปผสมกันก็จะเกิดสัญลักษณ์ใหม่ๆอีกมากมาย ซึ่งตรงนี้ช่วยลดพื้นที่ในการบันทึกให้กระชับมากขึ้น และสะดวกต่อการอ่านอีกด้วย (ยกตัวอย่าง 长锁 ฉางสั่ว หรือสั่วแบบยาว (มือขวา) ถ้าขยายโน้ตออกมา จะได้ ชี้เข้า ชี้ออก กลางเข้า กลางออก ชี้เข้า กลางเข้า กลางออก ชี้เข้า ชี้ออก ทั้งหมดเก้าเสียง แต่ย่อมาเป็นสั่วเพียงตัวเดียว) สมัยก่อนนักเรียนแทบจะต้องจำสัญลักษณ์พวกนี้ให้ได้ทั้งหมด แต่ไม่เป็นอุปสรรค์สำหรับคนจีน เพราะอักษรจีนใช้บ่อยมีมากกกว่าสามพันตัว
ส่วนตัวผมเห็นว่าจะใช้อันไหน ค่อยเรียนอันนั้นจะดีที่สุด ซึ่งมันจะค่อยๆสะสมไปเรื่อยๆ ใช้บ่อยๆมันก็จะจำได้เอง ไม่ต้องเสียเวลาท่อง แถมไม่เปลืองพื้นที่สมองมาจำอันที่ไม่ได้ใช้ด้วย สบายๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น