วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

ฉินเส้อสอดประสาน 琴瑟和鸣


ฉินเส้อสอดประสาน หรือ 琴瑟和鸣 (ฉินเส้อเหอหมิง)
ฉิน หมายถึงกู่ฉิน (ต่อมาคำว่า "ฉิน" ได้หมายถึงเครื่องดนตรีอื่นๆด้วย จึงเติมคำว่า กู่ ที่แปลว่าโบราณ เพื่อเป็นการเจาะจง) เส้อ หมายถึง พิณโบราณอีกชนิด มีหย่อง มีสาย25สาย
เส้อสาปสูญไปจากวงดนตรีราวๆราชวงศ์ซ่ง แต่ปรากฎอีกครั้งในสมัยราชวงศ์ชิง เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นเพื่อติดต่อกับเทพเจ้า ไม่ได้เครื่องดนตรีที่สร้างมาเพื่อความบันเทิง (มีจุดเริ่มต้นเช่นเดียวกับกู่ฉิน) ต่อมาเริ่มเป็นที่นิยมในชนชั้นสูง กลายเป็นเครื่องดนตรีจำตัวลูกคุณหนูทั้งหลาย ในตำราซ์อจิง กวีเล่มแรกของจีน ได้กล่าวถึงเส้อและฉินบ่อยมาก (ซื้อจิงเป็นตำรารวมกวีบรรยายเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นปกครอง) ถ้าไม่ใช้รับแขกคนสำคัญระดับผู้ใหญ่ ก็ใช้เล่นเกี้ยวพาราสีในหมู่ไฮโซเซเลปทั้งหลาย เนื่องจากน้ำหนักที่มากถึง 40 กิโลและถูกผูกขาด ทำให้กู่เจิงที่เบากว่าป๊อปขึ้นมา และเส้อก็สาบสูญไปโดยปริยาย
เราจะแยกเส้อและกู่เจิงได้อย่างไร
สังเกตุหย่องของเส้อจะแยกเป็นสองแถว โดยชุดในที่ยาวกว่าเป็นบันไดเสียงหลัก มี 19 สาย และชุดนอกก 6 สาย ตั้งเป็นตัวโน้ตครึ่งเสียง ทำให้เส้อสามารถบรรเป็นโครมาคิตได้ (ดนตรีจีนมีครบ 12 เสียงมาสามพันกว่าปีแล้ว) ส่วนกู่เจิงนั้นมีหย่องเพียงแถวเดียวเรียงกันไป และดูเบาบางกว่ามากทุกวันนี้ได้ ศ. ติงเฉิงอวิ้น (ช) และภรรยา ศ. ฟู่ลี่น่า ช่วยกันวิจัยรื้อฟื้นการบรรเลงฉินเส้อมาอีกครั้ง จากวัตถุโบราณและเอกสารเท่าที่มี (เอกสารเกี่ยวกับเส้อน้อยมาก ผมไปกวาดซื้อมาหมดแล้ว) ซึ่ง อ. ท่านสองก็ได้ออกอัลบัมในชื่อ ฉินเส้อสอดประสาน หรือ 琴瑟和鸣 ซึ่งถือเป็นอัลบัมประวัติศาสตร์เลยทีเดียว ปัจจุับน ศ. ติงก็เริ่มผลิตเส้อออกจำหน่ายแล้วด้วย ไว้ผมได้มาจะเอามาลงให้ทุกท่านดูกันครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น