วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

สายของกู่ฉิน



เราคงรู้กันแล้วว่าตอนนี้ สายของกู่ฉินนั้นมีทั้งทำมาจากไหม โลหะ และล่าสุดเชือกร่มชูชีพ ซึ่งแต่ละวัสดุล้วนมีข้อดีและข้อด้อยต่างกันไป

ครั้งนี้ผมจะขอพูดถึงสายชนิดที่เก่าแก่ที่สุด นั้นคือ ไหม วัสดุชนิดนี้ ทำมาจากไหมที่ได้จากตัวไหนนั่นเองครับ แต่เนื่องจากความกว้างใหญ่ของประเทศจีน ชนิดของใบหม่อนที่จะนำให้ให้ตัวไหมกินนั้น จึงมีหลายชนิดมาก แบ่งใหญ่ได้เป็น2พวก คือพวกที่ไว้พอผ้า และพวกที่ไว้ทำสาย แบบไว้ทอผ้าใบหม่อนจะทำให้ตัวไหนพ่นใบที่มีความอ่อนนุ่มมากกว่า ส่วนแบบไว้ทำสายจะหยาบและเหนียวแน่นทนทาน ซึ่งเหมาะไว้สำหรับรับแรงกดและแรงตึงบนตัวกู่ฉินที่สุด

ไหมชนิดทำสาย จะผ่านกระบวนการตั้งต้นเหมือนกับอีกชนิด เมื่อได้เส้นใยที่พร้อมแล้ว ก็นำเอาสายมาฟั่นตามขนาดที่ต้องการ หลังจากนั้นก็นำไปต้มยาจีนด้วยสูตรลับเฉพาะเป็นเวลาหลาบชั่วโมง ซึ่งทำให้สายเหนียวแน่นยิ่งขึ้น แล้วนำไปตากให้แห้งสนิท ก็เป็นอันใช้ได้ ก่อนหน้านี้ไม่นานมีการขุดค้นพบสุสานเจ้าหญิงอายุสองพันกว่าปี ในภาพที่เจ้าหญิงเป็นมัมมี่และของใช้ทุกอย่างยังดูใหม่ในนั้นพบเครื่องดนตรีเก่าแก่ ที่ยังมีสายถูกพาดไว้อย่างสมบูรณ์ เหมือนเพิ่งถูกฝังไว้เมื่อวาน นักวิทยศาสตร์ได้นำสายมาทำการวิจัย พบว่าความสมดุลของสายที่ฟั่นด้วยมือเมื่อสองพันปีมาแล้ว มีความสมดุลเทียบเท่าเครื่องจักรในทุกวันนี้เลย

ข้อดีของสายไหมคือ เสียงที่ได้จะนุ่มนวล แผ่วเบา สบาย แต่ข้อเสียคือขาดง่ายและยืดหดตามสภาพอากาศ และเล่นยากกว่าสายชนิดอืนๆ (ราคาแพงกว่าสายขนิดอื่นเท่าตัว) เนื่องจากสายไหมมีความยืดหยุ่นมาก ถ้าเลื่อนผิดไปนิดเดียวเสียงก็เพี้ยนไปได้เยอะ (สมัยก่อนไม่มีสายแบบอื่น เค้าคงไม่รู้สึกว่ายากหรอกมั้ง)

ถึงกระนั้นก็ตาม ถึงแม้เมื่อหลายพันปีที่แล้ว จีนถลุงเหล็กได้แล้ว ก็ยังคงใช้ไหมมาทำสายกู่ฉินเรื่อยมา ไม้และไหม วัสดุธรรมชาติที่เข้ากันได้ดีที่สุดแล้ว (นักเรียนของผมเกือบทุกคนเล่นสายไหม ทุกคนบอกว่าธรรมชาติกว่า ฟังสบายกว่า)

ทุกวันนี้สายไหมถูกแทนที่ด้วยสายเหล็กเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้ศาสตร์แห่งการทำสายไหมกำลังจะหายไปจากจีน ล่าสุดผมได้สั่งสายกู่ฉินไปร้อยกว่าชุด เพราะได้ข่าวมาว่า ช่างทำสายวัยเจ็ดสิบ หนึ่งเดียวในจีน ปลายปีนี้จะเลิกทำสายแล้ว (เจ้าอื่นๆคุณภาพไม่ดี) ประกาศเลิดทำเมื่อไรจากชุดละสี่พันกว่าบาท จะขึ้นเป็แปดพันทันที (โชคดีผมสั่งไปแล้ว) และถ้าท่านปู่จากไปแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าสองหมื่นจะเอาอยู่รึเปล่า น่าเสียดายศาสตร์นี้จริงๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น