วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

กู่ฉินทรงใบตอง


กู่ฉินทรงใบตอง หรือในภาษาจีนเรียกว่า "เจียวเย่" (蕉叶)

โครงสร้างภายในกู่ฉินแต่ละทรง ในเรื่องของความหนาบางของไม้ในจุดต่างๆจะไม่เท่ากัน นอกจากเรื่องความแตกต่างของรูปทรงที่เป็นปัจจัยแล้ว ยังมีเรื่องของความหนาแน่นและลายไม้อีกด้วย ดังนั้นนอกจาก "ทรงต่างโครงสร้างภายในต่าง" แล้ว "ทรงเดียวกันโครงสร้างก็ไม่เหมือนกันเสมอไปด้วย" (น่าปวดหัวจริงๆ)

กู่ฉินทรงใบตอง ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียดอ่อนของสัดส่วนตามจุดต่างๆ ทำให้ช่างควบคุมคุณภาพเสียงได้ยากมาก จึงมีโครงสร้างภายในที่พลิกผันและซับซ้อนกว่าเพื่อน ซึ่งมีหลายๆเจ้าทำให้ข้างในตัดขอบตรงๆ แล้วทำขอบพริ้วๆด้านนอกเอา เพราะทำเร็วและง่ายกว่า แต่วิธีนี้จะทำให้ขอบที่ยื่นๆออกของใบตองหนาและมีผลต่อการสั่นสะเทือน ซึ่งจะทำให้เสียงอับได้ ดังนั้นภายในส่วนที่เป็นขอบของใบตอง ก็ควรจะพริ้วขึ้นลงตามไปด้วย ซึ่งจะมีแต่ช่างชั้นสูงเท่านั้นที่สามารถทำกู่ฉินทรงนี้ออกมาได้สวยและเสียงดี

ด้วยความปราณีตที่ช่างต้องเสียเวลาเก็บงานบวกกับความชำนาญในการจัดการกับเสียง ถ้าช่างยิ่งเก่งเสียงก็ยิ่งจะดี นี่จึงเป็นสาเหตที่ทำให้กู่ฉินทรงใบตอง เป็นกู่ฉินที่มีราคาสูงที่สุด ถ้าเทียบกับทรงอื่นๆในรุ่นเดียวกัน ถ้าใครมีเล็งทรงนี้เอาไว้และมีงบน้อย ผมแนะนำให้เอาทรงอื่นดีกว่า เพราะคุณจะได้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าแน่นอน
ภาพ กู่ฉินทรงใบตองฝีมือของ อ. หวังเผิง ถ่ายที่ศูนย์วิจัยและพัฒนากู่ฉินจวินเทียนฝาง ที่ปักกิ่ง ไม่ทราบราคา เพราะไม่กล้าถาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น