วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

กู่ฉิน เกี่ยวกับกวีได้อย่างไร


กู่ฉิน แบ่งเพลงเป็นสองประเภท

หนึ่ง ฉินฉวี่ (琴曲) เพลงกู่ฉินหรือกู่ฉินโซโล่
สอง ฉินเกอ (琴歌) กวีประกอบกู่ฉิน

แบบที่สองนี่แหล่ะครับที่ผู้เรียนต้องมีความรู้ด้านกวีค่อนข้างสูง ทั้งการอ่านออกเสียงที่ชุดเจน การเอื้อนและสัมผัสต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงนัยอันลึกซึ้งทางวัฒนธรรมอีกด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องเล่นกู่ฉินเก่ง!(กวีหลายคนเล่นกู่ฉินได้ แต่ไม่ใช่นักกู่ฉินที่เก่ง ในเวลาเดียว กันนักกู่ฉินที่โด่งดังหลายท่าน ก็ไม่เชี่ยวชาญกวีมากนัก)

เพราะนี่คือการขับกวีเป็นเพลง เหมือนเราร้องเพลงละครเกาหลีทั่วไปโดยมีคาราโอเกะที่เป็นกู่ฉินเล่นตามเท่านั้นเอง (ที่จริงคนโบราณกล่าวถึงบทกวีดีมีคุณภาพว่า "กวีที่ร้องไม่ได้ ไม่ใช่กวี" ฉนั้นแล้ว กวี=เพลง นั่นเอง) นั่นหมายความว่า "กวีเป็นหลักกู่ฉินเป็นรอง" รูปแบบนี้เคยฮิตมากในสมัยราชวงศ์ซ่ง ขนาดว่าใครเล่นกู่ฉินต้องร้องกันทุกคน แต่ต่อมาก็ค่อยๆหายไป เนื่องจากตัวกู่ฉิน (หรือเครื่องดนตรีเดี่ยวอื่นๆ เช่น กีตาร์คลาสสิค เป็นโน เป็นต้น) ได้พัฒนาการสื่อสาร จนหลีกหนีคำพูดของมนุษย์ไปแล้ว
ฉนั้นถ้ากล่าวถึงนักกู่ฉิน ส่วนมากจะสื่อถึงการบรรเลงเดี่ยวมากกว่า ส่วนกู่ฉินประกอบกวี ผมมองว่าเป็นอีกศาสตร์ที่เน้นหนักไปอีกทาง ส่วนตัวไม่นับว่าเป็นการเล่นกู่ฉินที่แท้จริง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น