วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

วิวัฒนาการขาลงของกู่ฉิน



ยุคที่เครื่องดนตรีกู่ฉินมีคุณภาพเสียงดีที่สุด ในยุคโบราณคือสมัยราชวงศ์ถัง รองลงมาคือราชวงศ์ซ่งและรั้งท้ายด้วยราชวงศ์ชิง น่าแปลกใจมั้ยครับว่าทำไมถึงแย่ลงเรื่อยๆ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วควรจะดีขึ้นเรื่อยๆนี่นา

เรื่องนี้มีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจโดยตรงครับ หลังราชวงศ์ถังเศรษฐกิจแย่ลงเรื่อยๆจากหลายๆปัจจัย ในยุคที่คนมีกินมีใช้อย่างเต็มที่ ศิลปะก็จะได้รับการพัฒนามากเช่นกัน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการสนับสนุนจากเชื้อพระวงศ์อีกด้วย ในเกือบทุกสมัยเชื้อพระวงศ์และชนชั้นสูงให้การสนับสนุนค่อนข้างดี ยกเว้นราชวงศ์หยวน ทุกวันนี้มีกู่ฉินตกทอดมาตั้งแต่ราชวงศ์ถังนับร้อยตัว แต่กู่ฉินที่ตกทอดมาจากราชวงศ์ซ่ง หมิงและชิง กลับมาคุณภาพเสียงที่แย่มาก บ้างก็เสียหายร้ายแรง

ปัจจุบันนี้มีคำกล่าวถึงการสังเกตุฉินตามยุคสมัยไว้ว่า "唐圆宋扁" แปลว่า "ถังกลมซ่งแบน" หมายถึง กู่ฉินสมัยราชวงศ์ถังมีผิวหน้าที่โค้งโก่ง ซึ่งทำให้ตัวเครื่องมีความกว้าง เพื่อตอบสอดรับสัดส่วนกันได้อย่างสวยงาม จุดนี้เองทำให้กู่ฉินสมัยถัง มีเสียงที่ก้องกังวานกว่ายุคอื่นๆ ส่วนซ่งแบนหมายถึงกู่ฉินสมัยราชวงศ์ซ่ง จะมีส่วนบนที่ราบเรียบมาก ส่งผลให้ภาพรวมของกู่ฉินดูเล็กแคบ และทำให้เสียงเบาและแบนมาก ซึ่งตรงนี้ก็สะท้อนลักษณะแนวคิดทางสังคมแต่ละยุคได้เป็นอย่างดี (สมัยถังจะเวอร์หรูหราอลังการ แต่สมัยซ่งกลับประณีตและบางครั้งถึงกับงก)

จากวลีดังกล่าวมีแค่ราชวงศ์ถังและซ่ง นั่นทำให้เราเห็นว่า กู่ฉินในยุคต่อๆมา ไม่ได้อยู่ในสายตานักกู่ฉินวันนี้เสียเท่าไร ยกเว้นคุณค่าทางโบราณวัตถุที่นักดนตรีไม่ใส่ใจเท่าไรนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น