วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

การใช้งานบนความเรียบง่าย



เห็นรูปทาเคชิแล้วแปลกใจกันหรือไม่ว่า ทำไมต้องวางหัวกู่ฉินให้ตกขอบโต๊ะไป
นั่นเพราะว่าหมุดตั้งเสียงแบบละเอียด ที่มีเชือกแดงๆตรงนั้นครับ มันจำเป็นต้องใช้บิดตั้งสายเวลาเปลี่ยนสเกลเพลงหรือเวลาบรรเลงอยู่แล้วเพี้ยน ก็จะสามารถปรับได้ในทันที ซึ่งในฉากการสื่อสารด้วยเสียงของขงเบ้งและจิวยี่นี้ ก็นับว่าจัดวางได้ดีมากทีเดียว (แต่ฝั่งของจิวยี่กลับถูกวางอยู่บนโต๊ะเลย มาด้วยกันป่ะเนี่ย)ประเด็นไม่ได้อยู่ตรงนั้น

ครับ ลองมองถัดไปทางซ้ายมือถัดจากหมุดบิดไปอีก เราจะเห็นขาเล็กๆสองขา ที่อยู่หน้าสุดของกู่ฉิน ตามสัดส่วนแล้วขานั่นจะสั่นกว่าความยาวของหมุดบิด ถ้าเราลองเอากู่ฉินวางบนโต๊ะทั้งหมด ส่วนขาจะลอยขึ้น

แล้วทั้งหมุดตั้งสายและขาสั้นๆ เอาไปวางไปนอกขอบโต๊ะอีก เหมือนจะไม่ค่อยมีประโยชน์ เป็นแค่ของตกแต่งสวยงามเท่านั้นรึเปล่า? ไม่ใช่ครับ เจ้าขาน้อยๆนั้นมีชื่อว่า ฮู่เจิ่น(护轸)แปลว่า ปกหมุด หรือเข้าใจได้ว่ากันชนป้องกันการถูกกระแทกของหมุดตั้งสายนั่นเอง เนื่องจากหมุดตั้งสาย ถูกยึดไว้จนแน่นติดกับตัวกู่ฉิน จากแรงดึงของสายเท่านั้น ถ้าสายขาด หมุดก็ร่วงได้ทันที ไม่ได้เจาะถาวรแบบเครื่องอื่นๆ ดังนั้นจุดนี้จะมีความอ่อนไหวมาก ถ้ากระแทกเบาเสียงก้เพี้ยน ถ้ากระแทกแรงสายอาจขาดหรือหมุดแตกเสียหายได้ ดังนั้นส่วนนี้จึงเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับความปลอดภัยของกู่ฉิน

เห็นมั้ยครับ ความสวยงามที่ดูเรียบง่ายเหล่านี้ มีวัตถุประสงค์ของมันชัดเจน ไม่ได้ทำออกมาอย่างไรเหตุผลแต่อย่างใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น