วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

อย่า ถูก เปลือก หลอก นะ จะบอกให้



มีช่วงหนึ่ง ที่ทำให้ผมวางกู่ฉินไปหนึ่งปี
นั่นคือเพรียงปลาวาลและเหาฉลามของกู่ฉิน
คนไกล้ตัวและสื่อต่างๆ ล้วนประโคมกันอย่างน่ากลัวว่า
การเล่นกู่ฉินที่ดี ต้องมีความรู้ที่มากและปรัชญาอันลึกซึ้ง
เวลาผมเล่น "น้ำไหล" สื่อจะบอกว่า ไม่ใช่แค่น้ำไหล
เวลาผมเล่น "เขาสูง" สื่อจะบอกว่า ไม่ใช่แค่เขาสูง
เวลาผมเล่น "ดอกเหมย" สื่อตจะบอกว่า ไม่ใช่แค่ดอกเหมย
ดนตรีกู่ฉินต้องมีนัยอันลึกซึ้งกว่าสาระตลาดทั่วไปจะเข้าถึง!
นั่นทำให้ผมสงสัยว่า ต่างชาติงงๆแบบผม จะไปลึกซึ้งได้ยังไง
ตอนนั้นหยุดเล่นกู่ฉินไปหนึ่งปี หันไปโคฟเวอร์ดงบังชินกิแทน ฮ่าๆแน่นนอนตัวดนตรีถูกจับโยงเข้ากับปรัชญาโบราณ
แต่ก็แน่นอนว่า ดนตรี คือ ดนตรี ดนตรีปรัชญา ก็คือดนตรีอยู่ดี
สิบปีในวงการกู่ฉินชั้นในสุด
จากการไกล้ชิดนักดนดรีอันดับต้นและช่างมือหนึ่ง
พบว่า
"น้ำลายมากจะไม่เทพ เทพจะไม่น้ำลายมาก"
เทพกู่ฉินทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ น้อยคนจะเอาสิ่งพวกนี้มาพ่น
ส่วนพวกที่เล่นพอออกงาน จะท่องของตกแต่งได้ทุกอย่าง
และพวกนี้พูดคำว่า "สภาวะอันสูงสุด" บ่อยมาก ทำให้กู่ฉินดูสูงส่งมากกก
ถ้าปฏิบัติไม่ได้ จิตวิญญาณอันสูงส่งที่ว่ามาก็มีค่าเป็นศูนย์
เพราะกู่ฉินเป็นดนตรี เราใช้ดนตรีเป็นตัวตัดสินความสามารถพื้นฐาน
ตอนนี้เพื่อนๆหลายคน ที่ติดตามมาเพจเก่า
ตามอ่านเหาฉลามที่ผมเคยได้รู้ และเอามาเขียนบทความเมื่อนานมาแล้ว
หลายคนบอกว่า "กลัว ไม่กล้าเล่น รู้สึกไกลตัว "
นี่ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่ากู่ฉินสิ่งพวกนี้แหล่ะ เป็นยาพิษผ่อนส่งของกู่ฉินดีๆนี่เอง
จริงแล้วๆแนวคิดนี้ ตรงกับที่เราได้ยินบ่อยๆในศาสนาพุทธหรืออื่นๆ
"พิธีกรรมประเพณีต่างๆเป็นเปลือก ที่หุ้มรักษาแก่นของคำสอนเอาไว้
ถ้าไม่มีเปลือก ต้นไม้ก็ตาย แต่ถ้ายินดีอยู่เพียงเปลือก ก็เข้าไม่ถึงแก่น"
อย่า ถูก เปลือก หลอก นะ จะ บอก ให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น