วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

จุดบนกู่ฉิน



เนื่องจากผิวด้านบนของกู่ฉินในยุคแรก ไม่ได้เรียบสนิทไปตลอดทั้งตัว ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าการบรรเลงแบบกดสายยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก แต่ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นและถัง ผิวหน้าของกู่ฉินเรียบขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดเทคนิคใหม่และยังสามารถบรรเลงได้ทุกส่วนของสายได้อีกด้วย และด้วยลักษณะทางกายภาพของกู่ฉินที่ไร้เฟรทไร้หย่อง ทำให้การกะระยะและจดจำตำแหน่งกดสายเป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงมีการประดิษฐ์
 "ฮุย"(徽)หรือจุดบอกตำแหน่งขาวๆบนหน้ากู่ฉิน เพื่อเป็นการแสดงระยะคร่าวๆฮุย ปรากฎหลักฐานครั้งแรกในปฏิมากรรมนูนต่ำในสมัยราชวงศ์ใต้ ในภาพ "เจ็ดเมธีในป่าไผ่" และทุกวันนี้ฮุยยังคงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่กู่ฉินขาดไม่ได้เลย นอกจากจะช่วยในด้านเทคนิคแล้ว ยังถือองประดับได้อีกด้วย บ้างก็ทำจากเปลือกหอย ทองทำ หยกหรือแร่ราคาแพงอื่นๆ แต่เนื่องจาก"ฮุย"ไม่ได้มีส่วนทำให้กู่ฉินเสียงดีขึ้น ดังนั้นนักกู่ฉินจะไม่ใส่ในวัสดุมากเท่าไรนัก ส่วนมากจะนิยมเปลือกหอยที่สุด เพราะช่วยสะท้อนแสงในที่มืดได้ดี บางตำราว่า เปลือกหอย เหมาะสมที่สุด เพราะต้นไม้มาจากภูเขา เปลือกหอยมาจากทะเล เป็นส่วนผสมของโลกและจักรวาล อันนี้ก็แล้วแต่จะคิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น