วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

พัดผักรวมมิตรแนวคิดเรื่องการศึกษาเส้อและอื่นๆนิดหน่อย


รูปภาพ
พัดผักรวมมิตรแนวคิดเรื่องการศึกษาเส้อและอื่นๆนิดหน่อ

ใครอ่านจบ ขอปรบมือ

ช่วงนี้ผมและนักเรียนได้สั่งทำเส้อ(瑟)จำนวน 5ตัว (จากสุสานเจ้าแคว้นเจิง2ตัว(ตัวสีแดงๆ) และจากสุสานอื่นๆคละกันอีก3ตัว) โดยสั่งทำที่โรงงานใต้สังกัดพิพิธพัณฑ์ในเมืองจีน เพื่อให้ได้ของที่ไกล้เคียงของจริงที่สุด เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาและทำวงดนตรียุคก่อนราชวงศ์ฉินกันเล่นๆ(ถ้าดีก็อาจมีมินิคอนเสิร์ช) 

เส้อเป็นเครื่องดนตรีโบราณมากๆ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของกู่เจิง มีอายุกว่า 4000 ปี พอๆกับกู่ฉิน บันทึกเกี่ยวกับเส้อที่เก่าแก่ที่สุด ปรากฎในตำรา "ซือจิง"(诗经)หลายๆครั้ง เช่น 窈窕淑女,琴瑟友之 น้องนางงามทั้งใจและกาย จึงดีดฉินดีดเส้อไกล้ชิดกัน และ 我有嘉宾,鼓瑟吹笙 เรามีแขกVIP ดีดเส้อเป่าแคน(ต้อนรับ) เป็นต้น ซึ่งเครื่องดนตรีทั้งหมดที่ปรากฎ เป็นเครื่องดนตรีสำคัญในดนตรีพิธี(礼乐)ไม่ว่าจะเป็น กู่ฉิน เส้อหรือว่าแคน (ในดนตรีพิธี แคนจะบรรเลงนำวง เครื่องอื่นๆถึงจะเริ่มบรรเลงตามได้ เพราะจากรูปร่างของแคนที่มีฐานเหมือนพื้นดิน และมีเลาไผ่เหมือนการงอกงามของพืชพันธุ์ ทำให้แคนเป็นสัญลักษณ์แทน"ชีวิต") จะเห็นได้ว่าเส้อนอกจากใช้ในพิธีการแล้ว ยังเป็นเครื่องดนตรีเพื่อความบันเทิงของชนชั้นสูงอีกด้วย แต่ได้สาบสูญไปราวราชวงศ์ถัง และปรากฎอีกครั้งในราชวงศ์ชิง

ซึ่งในการจำลองเส้อนั้น นายช่างได้มีการปรับเปลี่ยนความสูงของสายและหย่อง รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆเล็กน้อย เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า ดังกว่า ซึ่งการแสดงในพิพิธพัณฑ์ต่างๆทั่วจีน ก็ใช้แบบที่ปรับแต่งแล้วทั้งสิ้น แรกเริ่มตัวผมเข้าใจว่า "ดี"ในความหมายของช่าง อาจเป็นรสนิยมคนสมัยใหม่ โดยเอากู่เจิงเป็นเกณฑ์ ซึ่งทีมของเราไม่ยินดีนัก ยังไงก็อยากได้แบบที่เหมือนหยิบออกมาจากสุสานเลยเป๊ะๆเลย จึงสั่งช่างทำใหม่ทั้งหมด โดยที่ห้ามปรับแต่งใดๆทั้งสิ้น โดยแบบโบราณจะมีสายที่เตี้ยและหย่องที่เล็ก (ดูรูปประกอบ) ส่งผลให้เสียงของเส้อเบา ไม่แน่นและไม่กังวาน เนื่องจากแรงตึงของสายไม่พอที่จะสร้างการสั่นสะเทือนที่เหมาะสม เพราะอะไรที่ทำให้เราตัดสินใจแบบนั้น หัวโบราณรึเปล่า? นั่นเพราะว่าจากสุสานสมัยจ้านกว๋อทั่วประเทศจีน เส้อที่ถูกขุดพบร้อยกว่าตัว มีลักษณะเดียวกันหมด นั่นคือหย่องเล็กและสายเตี้ย ดังนั้นมันอาจเป็นไปได้สูงว่า นี่คือความเพราะของเส้อในยุคนั้น ซึ่งถ้าเราจะศึกษาหน้าที่และบริบทของเส้อแล้ว เราควรศึกษาจากลิมิตของมัน จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ไกล้เคียงความถูกต้องที่สุด และจากตำราซือจิงที่เขียนว่า “น้องนางงามทั้งใจและกาย จึงดีดฉินดีดเส้อไกล้ชิดกัน” นั่นเสดงว่าเส้อเสียงเบากำลังพอดีที่จะบรรเลงกับกู่ฉินที่เสียงโคตรเบา นอกจากนี้แล้วในพิธีการยิงธนูของชนชั้นสูงสมัยจ้านกว๋อ จะมีมโหรีบรรเลงคลอไปด้วย โดยระฆังและกลองจะถูกจัดไกลๆแท่นพิธี และให้เส้ออยู่ไกล้ผู้ร่วมงานมากที่สุด นี่ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า เส้อเสียงเบาน่ะ ถูกแล้ว

เส้อตัวจำลอง https://www.facebook.com/photo.php?fbid=361113670643886&set=a.361113600643893.92677.101560529932536&type=3&theater

แต่แล้วก็มีความคิดปิ๊งขึ้นมาในหัว ถ้าเส้อเป็นเครื่องดนตรีในวงดนตรีพิธี ก็แปลว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการแผ่ขยายอำนาจากศูนย์กลาง โดยใช้ดนตรีในการแบ่งชนชั้น (ใครอ่านงงก็กลับไปกดอ่านโพสต์ก่อนหน้านี้ได้ครับ ที่เป็นรูปอีหนูเสื้อแดงกำลังเล่นเส้อ เกี่ยวกับดนตรีพิธี) ดังนั้นเป็นไปได้สูงว่า เส้อซึ่งถูกออกแบบโดยศูนย์กลางอำนาจในยุคนั้น อาจจะยังไม่พัฒนานัก(อาจจะพัฒนาที่สุดแล้ว) แต่ถูกส่งออกไปรอบๆพร้อมแนวคิดระบบศักดินา ดังนั้นเส้อ(ที่ยังไม่พัฒนา) พี่แผ่ไปพร้อมการปกครองร้อยกว่าตัวนั้น จึงมีโครงสร้างเหมือนกันไปหมด ทีนี้มาดูเส้อในพระราชวังต้องห้ามสมัยราชวงศ์ชิง ก็มีหย่องและสายที่สูงมาก (กู่เจิงก็พัฒนาจากสายเตี้ยมาสูงเช่นกัน) ดังนั้นตอนนี้ความคิดที่ว่าต้องเอาตามของโบราณทั้งหมดนั้น อาจจะต้องปรับเปลี่ยนบ้างเสียแล้ว สรุปก็คือว่า เราพบกันครึ่งทางกับช่าง “ขอให้สายต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้โดย (ห้ามสูงแบบสมัยใหม่) ภายใต้เงื่อนไขการบรรเลงจริง (ต่ำแบบโบราณไม่ได้แล้ว) ที่ทำให้เส้อแสดงน้ำเสียงของมันออกมาได้ดีที่สุด แต่ยังต้องรักษาเนื้อเสียงที่แท้จริงของเส้อไว้(ห้ามเหมือนกู่เจิง)” 

ธันวานี้ ได้เห็นกันแน่ครับ

ภาพประกอบ เส้อจากสุสานสมัยฮั่น(马王堆)ทั้งสายและหย่องอยู่แบบนี้มาสองพันกว่าปีแล้ว

ใครอ่านจบ ปรบมือให้ตัวเองดังๆด้วยครั

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น