วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

วัสดุและอิทธิพลต่อดนตรี


รูปภาพ

ในวงการกู่ฉิน มีคำว่า 古曲,声多韵少 แปลว่า เพลงโบราณนั้น (โบราณในที่นี้หมายถึงก่อนราชวงศ์ถัง) มักจะมี “เซิง” มาก แต่ “อวิ้น” น้อย เซิงหมายถึงเสียงสายเปล่า อวิ้นหมายถึง เสียงรูดสายไปมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในความเรียบง่ายของคนยุคโบราณ ซึ่งจุดนี้วัสดุก็มีอิทธิพลโดยตรงครับ ในยุคก่อนราชวงศ์ถังคนจีนจะใช้ไม้ถงในการทำกู่ฉิน ซึ่งจะให้เสียงทีโปร่ง แต่ไม่สามารถบรรเลง “อวิ้น” ได้มากนัก เพราะเนื้อไม้ที่หยาบทำให้หางเสียงอยู่ได้ไม่นาน แต่ต่อมาช่างสกุลเหลยสมัยราชวงศ์ถัง ได้ค้นพบว่าไม้ซานสามารถทำให้หางเสียงกู่ฉินยาวกว่า อีกทั้งเสียงยังชัดและละเอียดกว่ามาก จึงทำให้เพลงยุคหลังกลายเป็น 韵多声少 “อวิ้น”มาก “เซิง”น้อยนั่นเอง ซึ่งหลักการนี้ยังสามารถใช้ในการแยกแยะยุคสมัยของเพลงได้คร่าวๆด้วยครับ
ภาพ ไม้ถง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น