วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

สีบนกู่ฉิน


รูปภาพ

ภาพนี้เป็นภาพซูมบริเวณด้านบนของตัวกู่ฉินสมัยราชวงศ์ถังครับ จะเห็นว่าสีออกไปทางโทนแดง แถมมีรอยแตกเป็นแนวขวางมากมายอีกด้วย เดิมทีกู่ฉินทุกตัวจะมีเพียงสีดำเพียงสีเดียวเท่านั้นครับ นั่นเพราะว่ารักธรรมชาติที่ใช้เคลือบมีสีดำสนิท แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานมากเมื่อรักแห้งลง(100ปีขึ้นไป) มันก็เกิดการแตกลายงา หรือศัพท์เทคนิคเรียกว่าต้วนเหวิน 断纹 ซึ่งนอกจากจะเป็นตัวเพิ่มมูลค่าให้กู่ฉินตัวนั้นแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เสียงดีขึ้นอีกด้วย 
แต่ต้วนเหวินที่แตกไม่ดีหรือมากเกินไป ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการบรรเลง ฉนั้นจึงต้องมีการซ่อมแซมเกิดขึ้น บ้างก็ใช้รักผสมหินชาดสีแดงที่ช่วยเพิ่มความแกร่ง บ้างก็ผสมขี้เถ้าในการอุดร่องต่างๆ แต่ลองสังเกตุในร่องของรอยแตก เราจะเห็นเป็นเม็ดๆเล็กๆ นั่นคือผงเขากวางบดครับ ช่างจะนำไปผสมกับรักแล้วนำไปอุดตามร่องต่างๆ ซึ่งเขากวางจะยังคงช่วยในเรื่องความโปร่ง ไม่ทำให้เสียงดีที่เกิดจากต้วนเหวินหายไป และเมื่ออุดเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำการขับเรียบอีกครั้ง จึงทำให้เกิดสีและลายด่างๆ ซึ่งนี่กล่าวได้ว่าเป็นไอดารี่บันทึกการซ่อมของกู่ฉินตัวนั้นเลยครับ 
ในสมัยนี้ที่เราเห็นกู่ฉินที่มีสีสันลวดลายต่างๆมากมาย แถมมีต้วนเหวินด้วย นั่นเป็นการใส่สีและใช้เคมีบางอย่างเร่งให้มันเกิดขึ้นเพื่อความสวยงามเลียนแบบของโบราณครับ คนโบราณซึ่งจะใช้สีเมื่อต้องซ่อมแซม กับคนสมัยนี้ทำเพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาซื้อเยอะๆ ใช้สีเหมือนกันแต่เจตนาตั้งต้นคนละเรื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น