วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ชี้แจง


รูปภาพ
เนื่องจากผมไปเจอโพสต์ที่อ้างอิงถึงบทความนี้โดยบังเอิญ โดยมีการตีความว่า “ดีดแบบใช้แรงอย่างเดียวให้ไปดีดเจิง แต่ดีดได้อารมณ์เพลงให้ดีดฉิน” ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนจากเจตนาของบทความไปมาก ผมจึงขอชี้แจงรายละเอียดเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องซักเล้กน้อยครับ
ก่อนอื่นจะขอชี้แจงประโยคที่ว่า “ดีดมาเสียงดังโหวกเหวกแบบนี้ ไม่ใช่ฉิน แต่เป็นเจิง” ประโยคนี้ ศ.อู๋เจ๋า 吴钊ปรมาจารย์กู่ฉินศึกษารุ่นใหญ่ได้ตำหนิกู่ฉินตัวแรกที่ อ.หวังเผิงผลิตโดยไร้ประสบการณ์และความเข้าใจ โดยทำออกมาเสียงใสดังจนเหมือนกู่เจิง แต่กู่ฉินควรมีเสียงที่กังวานลึก (อ้างอิงhttp://youtu.be/NYw9Qek0jNg) ซึ่งชัดเจนว่าเป็นการกล่าวถึงอัตลักษณ์ของเครื่องที่แตกต่างกัน ไม่ได้เป็นการกล่าวว่ากู่เจิงไม่ลึกซึ้งแต่อย่างใด
ต่อไปอธิบายเสริมประโยคที่ว่า “ถ้าดีดฉินไม่ชัดแบบนี้ ไปดีดเจิงเถอะ” อ้างอิงจากตำรา “ซีซานฉินควั่ง” (溪山琴况) เขียนในสมัยราชวงศ์หมิง กล่าวถึงความงามของเสียงกู่ฉินประการที่3ใน24ประการ คือ 清 ชัด “语云弹琴不清。不如弹筝。” (คนโบราณกล่าวว่าดีดฉินไม่ชัด ไปดีดเจิงซะดีกว่า) อ้างอิงhttp://www.guqin.net/newweb/32.htm นั่นเป็นการเน้นย้ำว่ากู่เจิงมีความใสเป็นเอกลักษณ์อยู่แล้ว
ประโยคทั้งสองที่ยกมานั้นเพื่อแสดงเจตนารมณ์ให้เห็นถึงทัศนะของคนโบราณที่มีต่อเครื่องทั้งสองอย่างชัดเจน ซึ่งก็สะท้อนเจตนารมณ์ทางดนตรีที่แตกต่างได้ด้วย บทความนี้เขียนเพื่อให้ผู้สนใจแยกให้ออก และสามารถเสพศาสตร์นั้นๆได้อย่างถูกต้องและเข้าใจ
ซึ่งจริงๆแล้วการเข้าใจคลาดเคลื่อนนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่หากพบจุดไหนผมเขียนไม่กระจ่าง กำกวม (ในกรณีที่รักวิชาการมาก) สามารถถามหรือโต้แย้งผมโดยตรง จะทางข้อความส่วนตัวหรือโพสต์หน้าวอลล์ก็แล้ว ผมยินดีเปิดรับทุกความคิดเห็นครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น