วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วัสดุที่ใช้ในการเคลือบกู่ฉิน




ประปุกใหญ่แรกทางขวา ที่เห็นเป็นสีเหมือนโอเลี้งใส่นมข้นนั้น คือรักจีน วัสดุหลักที่ใช้ในการเคลือบ ซึ่งตอนที่ถูกกรีดจากต้นออกมาใหม่ๆจะเป็นสีขาวขุ่น ทิ้งไว้ซักพักจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนและเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นสีดำเมื่อแห้งสนิท นั่นทำให้เราเป็นโทนสีกู่ฉินส่วนใหญ่เป็นสีดำนั่นเอง

ประปุกกลางเป็นผงเขากวางที่พูดบดอย่างละเอียดแล้ว เอาไว้ผสมกับรัก เพื่อไม่ให้รักจับตัวกันแน่นจนเกินไป ซึ่งจะทำให้เสียงกู่ฉินโปร่งขึ้น แท่งขาวๆสามสี่แท่งตรงกลางภาพก็คือเขากวางก่อนบดนั่นเอง ซึ่งกว่าจะเอามาใช้งานได้ ต้องการกรรมวิธีหลายขั้นตอนมาก ซึ่งก็แล้วแต่เทคนิคของช่างแต่ละคน

ส่วนกระปุกสุดท้ายทางซ้าย คือหินชาดสีแดง ก่อนใช้ช่างจะนำมาบดให้ละเอียดเพื่อผสมกับรัก รักที่ได้ก็จะออกไปโทนแดง ซึ่งส่วนมากนิยมใช้ในงานซ่อมแซมเท่านั้น (ไม่นิยมเคลือบกู่ฉินใหม่ เพราะจะทำให้เสียงอับ) เช่น กู่ฉินอาจไปกะเทาะจนชั้นเคลือบบางแห่งแตกร่อน หรือเกิดการแตกลายงามตามธรรมชาติที่ทำให้เป็นอุปสรรค์ต่อการบรรเลง ช่างก็จะใช้ส่วนผสมนี้มาปะรอยเหล่านั้น นั่นเพราะว่าส่วนที่ต้องการซ่อม จำเป็นต้องได้ส่วนผสมที่มีความหนาแน่นมากกว่า หินชาดจะทำหน้าที่ให้ส่วนที่ปะซ่อมแซมนั้นติดแน่นทนนานยิ่งขึ้น และนี่เองคือสิ่งที่ทำให้กู่ฉินโบราณมีสีแดงกระจายเป็นหย่อมๆ (กู่ฉินสมัยใหม่ผสมสีเพื่อเลียนแบบ)

ส่วนประปุกเล็กที่ไม่ได้พูดถึงนั้น เป็นเปลือกหอยมุกที่จะใช้ทำ "ฮุย" หรือจุดแสดงตำแหน่งบนกู่ฉินครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น