วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กู่ฉินและขงจื้อ




ในภาพเป็น "ฉิน" ที่ถูกขุดพบในสุสานเจ้าแคว้นเจิง ชื่ออี่(曾侯乙)ในสมัยจ้านกว๋อ อายุ 2,400 กว่าปี มีความยาวประมาณ 67 ซม. ไม่มี"ฮุย" (หรือจุดขาวๆบนกู่ฉิน) บนตัวเครื่องไม่มีสายหลงเหลือให้เห็น มีรูใส่สายทั้งหมด 10 รู แปลว่ามี10สาย ทำให้ได้ชื่อว่า 十弦琴 หรือ "ฉินสิบสาย" อีกทั้งโครงสร้างก็แปลกมาก โดยส่วนที่เป็นกล่องเสียงนั้นจะสั้นๆป้อม แล้วส่วนท้ายก็จะมีหางยื่นออกไป ใต้หางจะมีเดือยไว้ผู้ปลายสาย ส่วนกล่องเสียงเป็นไม้สองแผ่นที่ไม่ได้ติดกาวเอาไว้ถาวร เพราะมีลูกบิดตั้งเสียงอยู่ในตัว แปลว่ามันต้องสามารถแยกออกจากกันได้ทันทีเพื่อสะดวกในการปรับเสียง และผิวหน้าของตัวเครื่องที่ไม่เรียบเท่ากัน ทำให้เครื่องดนตรีชิ้นนี้ไม่สามารถบรรเลงแบบรูดสายได้ นั่นแปลว่าจะใช้แต่มือขวาดีดสายเปล่าเป็นหลัก (การดีดฮาร์โมนิคปรากฎในสมัยราชวงศ์จิ้น เมื่อ "ฮุย" เริ่มปรากฎตัวบนเครื่อง) นักวิชาการลงความเห็นว่าจากลวดลายและรูปทรงน่าจะเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมมากกว่าเครื่องดนตรีทั่วไป 



ซึ่งในบันทึกกว่าวถึงขงจื้อไว้ว่า ขงจื้อก็เล่นกู่ฉินเหมือนกัน โดยใช้กู่ฉินในการสอนลูกศิษย์ในการจดจำท่วงทำนองของกวีเป็นหลัก เป็นเครื่องช่วยในการขับร้อง เรื่องนี้ค่อนข้างสมเหตุสมผล แต่ยังมีบันทึกว่าขงจื้อตั้งใจเรียนกู่ฉินเพลงเดียวเป็นเวลานานมาก จนสามารถรับรู้ถึงอารม์เพลง และถึงขนาดรู้ว่า “โจวเหวินอ๋อง” เป็นผู้แต่งเพลงอีกด้วย แต่เพราะตัวเครื่องดนตรีที่ไม่สามารถรูดสาย ซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญที่ใช้สื่ออารมณ์ได้ จึงทำให้กู่ฉินยุคขงจื้อนั้น แทบไม่สามารถแสดงออกทางอารมณ์และความคิดได้เลย ฉนั้นการที่ขงจื้อฟังออกว่าเพลงอารมณ์อย่างไร ใครเป็นผู้แต่งนั้น จึงไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไรนัก (เว้นแต่ว่าสมัยนั้นมีเพลงไม่มาก ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้เหมือนกัน) ดังนั้นนิทานที่ขงจื้อเรียนกู่ฉินนั้น น่าจะเป็นคนยุคหลังแต่งเติมเพื่อเพิ่มความสูงส่งน่าเคารพให้กับขงจื้อมากกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น