วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"ทางสายกลาง" หนึ่งในปรัชญาของนักดนตรีกู่ฉิน


เวลาเราฟังกู่ฉินเพลงต่างๆ เราจะได้ยินเสียงเบาบ้างดังบ้าง ตามแต่อารมณ์ของผู้บรรเลงอยาก แต่ตัวกู่ฉินนั้น จะมีลิมิตความดังของมัน คือไม่ว่าเราจะออกแรงบรรเลงเกินลิมิตความดังของของมันแค่ไหน เสียงก็จะไม่มีทางดังไปกว่านี้ได้ และก็ลิมิตความเบา  ซึ่งถ้าออกแรงน้อยจนเกินไปเสียงก็อาจจะไม่เกิดเลย



สำหรับนักกู่ฉิน นักดนตรีจะต้องค้นหา "ทางสายกลางของเสียง" ให้เจอเสียก่อน นั่นหมายถึงระดับเสียงความดังปานกลางของเครื่อง (ซึ่งอาจเบามากหากเทียบกับเครื่องดนตรีอื่นๆ) นั่นหมายความว่านักดนตรีอาจจะต้องศึกษาการบรรเลงนานพอสมควร เพื่อจะทำความสนิทสนมกับกู่ฉินของตนเองให้มากที่สุด เพราะกู่ฉินแต่ละตัวมีจุดโปร่งและจุดบอดต่างกันนั่นเอง

และเมื่อได้ "ทางสายกลางของเสียง" แล้ว นักดนตรีกู่ฉิน จะหลีกเลี่ยงลิมิตความดังของสองจุดให้มากที่สุด นั่นคือไม่ให้ดังเกินไปและไม่ให้เบาเกินไป หรือกล่าวได้ว่า บรรเลงให้ดังและเบากว่า  "ทางสายกลางของเสียง" พอสมควรเท่านั้น นั่นก็เพราะว่ากู่ฉินเป็นดนตรีสมาธิ ใช้บรรเลงในการพัฒนาจิตใจ ตัวตนเราอาจจะขาดบ้างเกินบ้าง แต่การฝึกฝนตรงนี้กับกู่ฉิน พอเวลาผ่านไป "ทางสายกลางของเสียง" จะกลายมาเป็น "ทางสายกลางของชีวติ" ของผู้ศึกษาโดยไม่รู้ตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น