วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กู่ฉินและขงจื้อ




ในภาพเป็น "ฉิน" ที่ถูกขุดพบในสุสานเจ้าแคว้นเจิง ชื่ออี่(曾侯乙)ในสมัยจ้านกว๋อ อายุ 2,400 กว่าปี มีความยาวประมาณ 67 ซม. ไม่มี"ฮุย" (หรือจุดขาวๆบนกู่ฉิน) บนตัวเครื่องไม่มีสายหลงเหลือให้เห็น มีรูใส่สายทั้งหมด 10 รู แปลว่ามี10สาย ทำให้ได้ชื่อว่า 十弦琴 หรือ "ฉินสิบสาย" อีกทั้งโครงสร้างก็แปลกมาก โดยส่วนที่เป็นกล่องเสียงนั้นจะสั้นๆป้อม แล้วส่วนท้ายก็จะมีหางยื่นออกไป ใต้หางจะมีเดือยไว้ผู้ปลายสาย ส่วนกล่องเสียงเป็นไม้สองแผ่นที่ไม่ได้ติดกาวเอาไว้ถาวร เพราะมีลูกบิดตั้งเสียงอยู่ในตัว แปลว่ามันต้องสามารถแยกออกจากกันได้ทันทีเพื่อสะดวกในการปรับเสียง และผิวหน้าของตัวเครื่องที่ไม่เรียบเท่ากัน ทำให้เครื่องดนตรีชิ้นนี้ไม่สามารถบรรเลงแบบรูดสายได้ นั่นแปลว่าจะใช้แต่มือขวาดีดสายเปล่าเป็นหลัก (การดีดฮาร์โมนิคปรากฎในสมัยราชวงศ์จิ้น เมื่อ "ฮุย" เริ่มปรากฎตัวบนเครื่อง) นักวิชาการลงความเห็นว่าจากลวดลายและรูปทรงน่าจะเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมมากกว่าเครื่องดนตรีทั่วไป 



ซึ่งในบันทึกกว่าวถึงขงจื้อไว้ว่า ขงจื้อก็เล่นกู่ฉินเหมือนกัน โดยใช้กู่ฉินในการสอนลูกศิษย์ในการจดจำท่วงทำนองของกวีเป็นหลัก เป็นเครื่องช่วยในการขับร้อง เรื่องนี้ค่อนข้างสมเหตุสมผล แต่ยังมีบันทึกว่าขงจื้อตั้งใจเรียนกู่ฉินเพลงเดียวเป็นเวลานานมาก จนสามารถรับรู้ถึงอารม์เพลง และถึงขนาดรู้ว่า “โจวเหวินอ๋อง” เป็นผู้แต่งเพลงอีกด้วย แต่เพราะตัวเครื่องดนตรีที่ไม่สามารถรูดสาย ซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญที่ใช้สื่ออารมณ์ได้ จึงทำให้กู่ฉินยุคขงจื้อนั้น แทบไม่สามารถแสดงออกทางอารมณ์และความคิดได้เลย ฉนั้นการที่ขงจื้อฟังออกว่าเพลงอารมณ์อย่างไร ใครเป็นผู้แต่งนั้น จึงไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไรนัก (เว้นแต่ว่าสมัยนั้นมีเพลงไม่มาก ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้เหมือนกัน) ดังนั้นนิทานที่ขงจื้อเรียนกู่ฉินนั้น น่าจะเป็นคนยุคหลังแต่งเติมเพื่อเพิ่มความสูงส่งน่าเคารพให้กับขงจื้อมากกว่า

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แบบเรียนรุ่นใหม่



ทุกวันนี้กู่ฉินเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ส่งผลให้อาจารย์หลายท่าน เขียนตำรากู่ฉินตีพิมพ์ออกสู่ท้องตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยช่วงหลังๆ3-4ปีนี้ จะมีหนังสือกู่ฉินออกใหม่มากเป็นพิเศษ (ข้าน้อยกวาดมาทุกเล่มแล้ว) ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบตำราที่รวบรวมโน้ตโดยเฉพาะ (琴谱)หรือตำราที่สอนการบรรเลงพื้นฐาน (教材)และทันสมัยที่สุดก็คงหนีไม่พ้นตำราที่แถมแผ่น VCD หรือ DVD ที่มีเนื้อหาสอดต้องกับตำราเรียนมาด้วย เพื่อผู้เรียนจะได้เรียนรู้ท่าทางการบรรเลงได้อย่างถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น



ซึ่งแบบเรียนจำพวกนี้ เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีเวลาน้อย หรือไม่สะดวกไปพบอาจารย์ผู้สอน แต่ถ้ามีความพร้อม แน่นอนว่าการเรียนกับครูผู้เชี่ยวชาญ เป็นตัวเลือกที่ที่สุดครับ เพราะVCDไม่สามารถบอกเราได้ว่า เรามีข้อดีตรงไหนที่ต้องพัฒนาขึ้นไปอีก และไม่สามารถบอกได้ว่าเรามีข้อเสียตรงไหนที่ต้องแก้ไขด่วน ซึ่งถ้าจำผิดแล้วก็ม๊โอกาศผิดไปตลอดชีวิต ซึ่งไม่ดีต่อผู้เรียนแน่นอน

และที่สำคัญไปกว่านั้นกู่ฉินเป็นดนตรีทีมีรายละเอียดทั้งทางเทคนิคและอารมณ์เยอะมาก ซึ่งต้องเป็นครูที่มีประสบการณ์สูงเท่านั้นที่จะอธิบายให้ผู้เรียนกระจ่าง และมีพัฒนาการที่มั่นคงต่อไปได้

ภาพประกอบ  แบบเรียนกู่ฉิน 琴学门径 ของ อ. จางจื่อเซิ่ง(张子盛)ที่CDแถมใฟ้ 2 แผ่น

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความลับ


ภาพนี้เป็นชุดที่อาจารย์หวังเผิง ใช้ในการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการทำกู่ฉินตามสถานที่ต่าง 




กลางภาพจะเห็นว่ามีไม้ชิ้นหนึ่งที่ถูกขึ้นรูปเป็นกู่ฉิน มีการเซาะขอบอย่างเรียบร้อย แต่มีการขุดเนื้อไม้ที่ออกส่วนท้ายไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม้ท่อนนี้คือส่วนบนของกู่ฉิน ซึ่งอาจารย์หวังเผิง (รวมทั้งช่างท่านอื่นๆ) ค่อนข้างระมัดระวังมากที่จะรักษาความลับเรื่องของโครงสร้างภายใน เพราะมันคือความลับที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของช่างทำกู่ฉินเลยทีเดียว 

และรูปทรงที่แตกต่างของกู่ฉินซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเดินทางของคลื่นเสียง ทำให้การจัดการโครงสร้างภายในมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม ดังนั้นการทำกู่ฉินจึงไม่สามารถทำโครงสร้างภายในให้เหมือนกันทั้งหมดได้ และการที่จะทำกู่ฉินตัวหนึ่งให้ได้ดีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความรู้และชั่วโมงบินของช่างล้วนๆ 

อาจารย์หวังเผิงเคยกล่าวกับผมไว้ว่า "ถ้าทำกู่ฉินไม่ถึงร้อยตัว อย่าหวังที่จะทำฉินออกมาได้ดีดั่งใจ" ประโยคนี้เห็นจะไม่ได้เป็นการพูดเกินจริงเลยแม้แต่น้อย

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วัสดุที่ใช้ในการเคลือบกู่ฉิน




ประปุกใหญ่แรกทางขวา ที่เห็นเป็นสีเหมือนโอเลี้งใส่นมข้นนั้น คือรักจีน วัสดุหลักที่ใช้ในการเคลือบ ซึ่งตอนที่ถูกกรีดจากต้นออกมาใหม่ๆจะเป็นสีขาวขุ่น ทิ้งไว้ซักพักจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนและเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นสีดำเมื่อแห้งสนิท นั่นทำให้เราเป็นโทนสีกู่ฉินส่วนใหญ่เป็นสีดำนั่นเอง

ประปุกกลางเป็นผงเขากวางที่พูดบดอย่างละเอียดแล้ว เอาไว้ผสมกับรัก เพื่อไม่ให้รักจับตัวกันแน่นจนเกินไป ซึ่งจะทำให้เสียงกู่ฉินโปร่งขึ้น แท่งขาวๆสามสี่แท่งตรงกลางภาพก็คือเขากวางก่อนบดนั่นเอง ซึ่งกว่าจะเอามาใช้งานได้ ต้องการกรรมวิธีหลายขั้นตอนมาก ซึ่งก็แล้วแต่เทคนิคของช่างแต่ละคน

ส่วนกระปุกสุดท้ายทางซ้าย คือหินชาดสีแดง ก่อนใช้ช่างจะนำมาบดให้ละเอียดเพื่อผสมกับรัก รักที่ได้ก็จะออกไปโทนแดง ซึ่งส่วนมากนิยมใช้ในงานซ่อมแซมเท่านั้น (ไม่นิยมเคลือบกู่ฉินใหม่ เพราะจะทำให้เสียงอับ) เช่น กู่ฉินอาจไปกะเทาะจนชั้นเคลือบบางแห่งแตกร่อน หรือเกิดการแตกลายงามตามธรรมชาติที่ทำให้เป็นอุปสรรค์ต่อการบรรเลง ช่างก็จะใช้ส่วนผสมนี้มาปะรอยเหล่านั้น นั่นเพราะว่าส่วนที่ต้องการซ่อม จำเป็นต้องได้ส่วนผสมที่มีความหนาแน่นมากกว่า หินชาดจะทำหน้าที่ให้ส่วนที่ปะซ่อมแซมนั้นติดแน่นทนนานยิ่งขึ้น และนี่เองคือสิ่งที่ทำให้กู่ฉินโบราณมีสีแดงกระจายเป็นหย่อมๆ (กู่ฉินสมัยใหม่ผสมสีเพื่อเลียนแบบ)

ส่วนประปุกเล็กที่ไม่ได้พูดถึงนั้น เป็นเปลือกหอยมุกที่จะใช้ทำ "ฮุย" หรือจุดแสดงตำแหน่งบนกู่ฉินครับ

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"ทางสายกลาง" หนึ่งในปรัชญาของนักดนตรีกู่ฉิน


เวลาเราฟังกู่ฉินเพลงต่างๆ เราจะได้ยินเสียงเบาบ้างดังบ้าง ตามแต่อารมณ์ของผู้บรรเลงอยาก แต่ตัวกู่ฉินนั้น จะมีลิมิตความดังของมัน คือไม่ว่าเราจะออกแรงบรรเลงเกินลิมิตความดังของของมันแค่ไหน เสียงก็จะไม่มีทางดังไปกว่านี้ได้ และก็ลิมิตความเบา  ซึ่งถ้าออกแรงน้อยจนเกินไปเสียงก็อาจจะไม่เกิดเลย



สำหรับนักกู่ฉิน นักดนตรีจะต้องค้นหา "ทางสายกลางของเสียง" ให้เจอเสียก่อน นั่นหมายถึงระดับเสียงความดังปานกลางของเครื่อง (ซึ่งอาจเบามากหากเทียบกับเครื่องดนตรีอื่นๆ) นั่นหมายความว่านักดนตรีอาจจะต้องศึกษาการบรรเลงนานพอสมควร เพื่อจะทำความสนิทสนมกับกู่ฉินของตนเองให้มากที่สุด เพราะกู่ฉินแต่ละตัวมีจุดโปร่งและจุดบอดต่างกันนั่นเอง

และเมื่อได้ "ทางสายกลางของเสียง" แล้ว นักดนตรีกู่ฉิน จะหลีกเลี่ยงลิมิตความดังของสองจุดให้มากที่สุด นั่นคือไม่ให้ดังเกินไปและไม่ให้เบาเกินไป หรือกล่าวได้ว่า บรรเลงให้ดังและเบากว่า  "ทางสายกลางของเสียง" พอสมควรเท่านั้น นั่นก็เพราะว่ากู่ฉินเป็นดนตรีสมาธิ ใช้บรรเลงในการพัฒนาจิตใจ ตัวตนเราอาจจะขาดบ้างเกินบ้าง แต่การฝึกฝนตรงนี้กับกู่ฉิน พอเวลาผ่านไป "ทางสายกลางของเสียง" จะกลายมาเป็น "ทางสายกลางของชีวติ" ของผู้ศึกษาโดยไม่รู้ตัว