วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

สั่งทำกู่ฉินชั้นสูง


รูปภาพ
อ.หวังสือ ศิษย์น้องร่วมสำนักของผม กำลังจะออกมาทำออฟฟิซทำกู่ฉินส่วนตัวปลายปีนี้ เพราะทำกับนายทุนแล้วไม่อิสระ ปีนึงต้องเร่งทำ20-30ตัว ไม่สามารถทำของดีที่สุดได้จริงๆ ซึ่งการออกมาทำเองนี้ จะกำหนดปริมาณการทำไม่เกิน5ตัว หรือขึ้นอยู่กับวาสนาว่าจะได้เจอไม้ดีๆกี่แผ่น เงื่อนไขไม้คือต้องอายุไม่ต่ำกว่า300ปี คัดจาก1ใน1,000ชิ้น หมายความว่าเหมาไม้มา1,000แผ่น 999แผ่นทำฟืน (ต่อให้มีคนเอาเงินให้10-20ล้าน สั่งให้หาไม้เพิ่มเพื่อทำ10ตัวก็ไม่รับ หรือถ้าไม่ถูกชะตาก็ไม่ทำให้) ซึ่งวัสดุอื่นที่ใช้จะเป็นวัสดุธรรมชาติแท้ๆคุณภาพสูงสุดในประเทศเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นยางรักจากฮกเกี้ยน เขากวางแห้งจากร้านยาจีนชั้นสูง ลูกบิดและขาตั้งหยก ไม้ประกอบเป็นจื่อถานอายุเป็นร้อยปี เป็นต้น
กู่ฉินฝีมือ อ.หวังสือจะทำออกมาแค่สองรุ่นเท่านั้น คือรุ่นปกติ(800,000บาท) และรุ่นอัญมณีทั้งแปด (1,300,000บาท) ซึ่งจะมีทองคำและหินล้ำค่าต่างๆผสมลงไปในชั้นเคลือบเพื่อให้เสียงดีขึ้นและเพิ่มคุณค่าในการสะสมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหน คุณค่าที่เป็นวัสดุธรรมชาติแท้ที่หาไม่ได้ในจีนจะทวีคูณในวันข้างหน้าแน่นอน
เงื่อนไขการสั่งจองคือ จ่ายเต็มจำนวน รอรับกู่ฉินอีก2ปีข้างหน้า แล้วถ้าไม่มั่นใจว่าดีสมราคารึเปล่าล่ะ มัดจำได้มั้ย? ศิษย์น้องบอกว่า “ไม่มั่นใจก็ไม่ต้องเอา”
ภาพประกอบไม้โพลงแมลงในตำนาน กู่ฉินที่ผมสั่งทำไว้เป็นเครื่องประจำตัว ไม้ชนิดนี้ราคาจะสูงกว่าที่กำหนดไปอีกมากครับ เพราะหายาก
L1120536L1120539IMG_5482
ภาพ อ.หวังสือและกู่ฉินก่อนเคลือบ
KG3L3AOC`Q4}TCND}V4522U
เคลือบแล้วสวยมากๆ
รูปภาพรูปภาพรูปภาพ

สนใจสั่งทำกู่ฉินชั้นสูง ติดต่อ tq.canchuan@hotmail.com

ยางรัก 漆


ยางรัก 漆 วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการเคลือบกู่ฉิน เมื่อถูกกรีดออกมาใหม่ๆจะมีเนื้อยางสีขาวเหมือนกระดาษ พอผ่านไปซักพักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมื่อไกล้แห้งก็จะกลายเป็นสีดำสนิท นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมกู่ฉินถึงเป็นสีดำ แต่ช่างกู่ฉินสมัยนี้กลัวขายไม่ออก เพื่อเพิ่มความสวยงามก็แล้วแต่จะใส่สีอะไรลงไปผสม ที่สำคัญใช้แลกเกอร์เคมีเคลือบอีกต่างหาก
 
 รูปภาพ

กู่ฉินและความสูงส่ง


รูปภาพ

หร่วนจี๋ 阮籍 หนึ่งในเจ็ดเมธีในป่าไผ (ราชวงศ์จิ้น) เป็นต้นกำเนิดแนวคิดยกระดับกู่ฉินโดยพยายามจับโยงเข้าหาเทพเจ้าและจักรวาล แนวคิดนี้มีอิทธิพลอย่างมากในยุคต่อๆมา ซึ่งจะปรากฎในอารัมภบทในตำรายุคราชวงศ์หมิงและชิงเกือบทุกเล่ม จนทำให้เกิดค่านิยม “เล่นกู่ฉิน=ปัญญาชน” ขึ้น เล่นแล้วเท่ เล่นแล้วคิดไปเองว่าเหนือกว่าคนอื่น ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ “แก่น” ของดนตรี (แต่หากเปรียบเทียบในเชิงคุณค่าและความเข้มข้นทางวัฒนธรรม นักวิชาการชาวจีนยอมรับว่ากู่ฉินมีความลึกซึ้งมากกว่า)

ฉิน เส้อ 琴瑟


รูปภาพ

ในยุคราชวงศ์โจว กู่ฉินและเส้อ จากหลักฐานต่างๆแสดงให้เห็นว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ต้องบรรเลงด้วยกันเสมอ ไม่สามารถแยกจากกันได้ จากโบราณวัตถุกู่ฉินที่ถูกขุดเจอในสุสานอายุกว่า2400ปี พบว่ากู่ฉินในยุคนั้นมีข้อจำกัดในการบรรเลงอย่างมาก คือสามารถบรรเลงได้เพียงสายเปล่าเท่านั้น ทำให้รูปแบบของเพลงมีความซ้ำซากจำเจ ซึ่งเส้อซึ่งมีระยะเสียงที่มากกว่าและให้สีสันเสียงที่สดใสกว่า ก็จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจในบทเพลงมากขึ้น ยุคนี้รูปแบบการบรรเลงหลักๆคือทำหน้าที่เป็นดนตรีประกอบให้กับการขับกวีของชนชั้นสูงในพิธีกรรมและงานรื่นเริงนั่นเอง

จิ่วเต๋อ 九德


ตำรา ฉินซูต้าเฉวียน 琴书大全 สมัยราชวงศ์หมิง ได้กล่าวถึงการคัดเลือกกู่ฉินที่ดี ว่าควรมีคุณสมบัติไว้เก้าประการ หรือเรียกว่า จิ่วเต๋อ 九德 ดังนี้
รูปภาพ
1. 奇 ฉี :ไม้มีน้ำหนักเบา โปร่ง เปราะ ลื่นมือ
2. 古 กู่ :เสียงโบราณดั่งระฆังหิน
3. 透 โท่ว:เสียงโปร่งกังวานไม่สะดุด
4. 静 จิ้ง:เสียงเงียบสงบ
5. 润 รุ่น:เสียงนุ่มละมุน หางเสียงยาวนาน
6. 圆 หยวน:หางเสียงมีเนื้อเสียงแน่น
7. 清 ชิง:เสียงใสดั่งกระดิ่งลม
8. 匀 อวิ๋น:เนื้อเสียงสมดุลกันในทุกจุดบรรเลง
9. 芳 ฟาง:ยิ่งดีดเสียงยิ่งกังวานยาวนาน
แนวคิดนี้มีอิทธิพลและได้รับการยอมรับในวงการกู่ฉินอย่างกว้างขวางมาก จนกลายเป็นเครื่องวัดมาตราฐานคุณภาพกู่ฉินมาจนถึงทุกวันนี้ กล่าวได้ว่ากู่ฉินที่มีคุณสมบัติครบทั้ง9ประการนั้นเป็นสิ่งสุดยอดล้ำค้าที่หาได้ยากมากๆ แต่กู่ฉินฝีมือช่างในสมัยใหม่มีได้3-4ประการก็ถือว่าไม่เลวแล้ว ซึ่งสิ่งสำคัญที่เราเห็นได้ชัดคือ คนโบราณให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพเสียงมากกว่ารูปร่างหน้าตานั่นเอง
การบอกว่าอยากเรียนกู่ฉินเพื่อขึ้นเวทีแสดง 
ก็ไม่ต่างกับบอกว่าอยากปฏิบัติธรรมให้คนอื่นดูรูปภาพ

ยางรักธรรมชาติ ยางรักเคมี


รูปภาพ

กู่ฉินเก่าแก่สมัยอายุหลายร้อยหลายพันปีที่ยังมีสภาพเยี่ยมยอดมาถึงทุกวันนี้ ปัจจัยสำคัญคือ คนโบราณจะใช้ไม้อายุหลายร้อยปีที่ไม่หดคลายตัวแล้วมาทำบวกกับวัสดุเคลือบที่เป็นธรรมชาติ100% ซึ่งให้ความโปร่งมากกว่าเคมร แต่ในขณะเดียวกันก็มีความแข็งเกือบเท่าหิน ซึ่งช่วยกันการกระแทกและช่วยกันความชื้นได้เป็นอย่างดี 
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องซ่อมเลย เมื่อกู่ฉินถูกเล่นนานๆเข้าบริเวณที่กดสายบ่อยๆก็จะสึกหรอเป็นธรรมดา หรือเมื่อผ่านไปร้อยปี ชั้นเคลือบเมื่อแห้งแบบสุดๆก็จะเกิดรอยร้าวขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องส่งซ่อมด้วยการเคลือบซ้ำแล้วขัดผิวให้เรียบอีกครั้ง ซึ่งการรอชั้นเคลือบแห้งก็อาจต้องใช้เวลากว่า3เดือน เมื่อซ่อมเสร็จแล้วเสียงก็จะกลับไปดีเหมือนเดิม
แต่มีเรื่องน่าเศร้าที่กู่ฉินโบราณตกสู่มือช่างสมัยใหม่ ช่างบางคนได้รับมอบหมายให้ซ่อมกู่ฉินโบราณ กลับใช้วัสดุเคมีในการเคลือบ ปัญหาแรกคือชั้นเคลือบจะไม่ติดทนนาน ไม่ถึงสามสี่สิบปีอาจจะร่อนออกมา แล้วอาจจะเกี่ยวชั้นเคลือบโบราณปริออกมาด้วย และการเคลือบด้วยวัสดุเคมีก็ไม่ต่างอะไรกับเอาเสื้อกันฝนไปห่อรอบตัวกู่ฉิน ซึ่งเสียงที่ออกมาก็จะแย่ลงกว่าเดิมอีกด้วย ฉนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงว่าอายุของกู่ฉินเก่าแก่โบราณจะหมดในยุคของเรานี้เองครับ (กู่ฉินในท้องตลาดกว่า99.99%เคลือบด้วยวัสดุเคมี วิธีแก้เสียงอับของช่างคือการเคลือบให้บางลงกว่ามาตราฐาน ซึ่งแน่นอนว่าอายุก็สั้นลงด้วย)